วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สังคมนิยมและคอมมิวนิสม์ (คาร์ล มาร์กซ์)

คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx 1818 – 1883) 

  
มาร์กซ์ เกิดที่ประเทศเยอรมนี ใน ค.ศ. 1818 ในตระกูลชนชั้นกลางเชื้อสายเยอรมันยิว สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาเอก สาขาวิชาปรัชญา เมื่อ ค.ศ. 1841 จากมหาวิทยาลัยจีนา หลังจบการศึกษา เขาได้ยึดอาชีพนักเขียน และบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เขาได้ให้ความสนใจ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมปฏิวัติต่าง ๆ จึงทำให้ชีวิตของเขาต้องระเหเร่ร่อน และลี้ภัยในประเทศต่างๆ ได้แก่ เยอรมนี ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และอังกฤษ จวบจนวาระสุดท้ายของชีวิตใน ค.ศ.1883 ชีวิตของมาร์กซ์อยู่ท่ามกลางความเฟื่องฟูของลัทธินายทุน อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติทางการค้า และอุตสาหกรรม กล่าวคือ นายทุนจะทำหน้าที่ควบคุมและผูกขาดการผลิตในทางเศรษฐกิจตลอดจนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตในทุกด้าน ขณะที่กรรมกรผู้ใช้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน ทัศนคติของมาร์กซ์เช่นนี้จึงกลายเป็นแรงกระตุ้นให้เขาเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการปฏิวัติสังคมเพื่อการมีชีวิตที่ดีขึ้นของชนชั้นผู้ใช้แรงงาน 

ปรัชญาการเมืองของมาร์กซ์ หรือที่เรียกว่า มาร์กซิสม์ (Marxism) นั้น เป็นการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ โดยการพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางสังคมกับพลังทางเศรษฐกิจ โดยใช้ทฤษฏีวิภาษวิธี-วัตถุนิยม (dialectical materialism) ซึ่งเขาได้รับอิทธิพลมาจาก เฮเกล (Hegel) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ อาจกล่าวได้ว่ามาร์กซิสม์นี้เป็นทั้งปรัชญาทางการเมือง ปรัชญาทางเศรษฐกิจ และกลยุทธในการปฏิวัติสังคม กล่าวคือในฐานะที่เป็นปรัชญาการเมือง ลัทธิมาร์กซ์มุ่งอธิบายโครงสร้างทางชนชั้นทางสังคมที่ได้เปรียบ ในฐานะที่เป็นปรัชญาทางเศรษฐกิจ

ลัทธิมาร์กซ์มุ่งวิจารณ์วิถีแห่งการผลิตแบบนายทุนที่มีลักษณะกดขี่ผู้ใช้แรงงาน ซึ่งมาร์กซ์เห็นว่าในที่สุดก็จะทำให้ระบบการผลิตเช่นนี้ล่มสลายไปในที่สุด และในฐานะที่เป็นกลยุทธ์ของการปฏิวัติสังคม มาร์กซ์ได้มุ่งอธิบายถึงกลยุทธ์ของการปฏิวัติสังคม มาร์กซ์ได้มุ่งอธิบายถึงกลยุทธ์ในการล้มล้างลัทธินายทุนโดยการต่อสู้ทางชนชั้นเพื่อนำไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์

ผลงานสำคัญ

  1. ปัญหาชาวยิว (On the Jewish Question) อุดมการณ์เยอรมัน (The German Ideology)
  2. ความอับจนของปรัชญา (The Poverty of Philosophy)
  3. คำประกาศเจตนาคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto)
  4. การปฏิวัติของหลุยส์โบนาปาร์ต (The Eighteenth Brumaire of Louis Bonaparte)
  5. ทุน (หรือในชื่อเต็มว่า ทุน: บทวิพากษ์ทางเศรษฐศาสตร์การเมือง และชื่อภาษาเยอรมันว่า Das Kapital)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลให้มาร์กซ์คิดทฤษฎีสังคมนิยม 
อิทธิพลของปรัชญาจิตนิยม และวัตถุนิยมต่อมาร์กซ์ในระยะแรกเริ่ม 
ทรรศนะของมาร์กซ์มองวัตถุนิยมว่าเป็นทรรศนะที่ถูกต้อง เพราะไม่อธิบายว่าโลกถูกสร้างขึ้นด้วยอำนาจเหนือธรรมชาติ ส่วนปรัชญาจิตนิยมในความเห็นของมาร์กซ์นั้นเป็นปรัชญาที่ไม่ให้ความสำคัญแก่ชีวิตจริง ในทรรศนะของมาร์กซ์มองปรัชญาวัตถุนิยมของกรีก และโรมันว่าเป็นขั้นปฐมเท่านั้น มาถึงสมัยกลาง ปรัชญาที่เคยเป็นวิชาการอิสระได้ถูกนำไปรับใช้ศาสนจักร จนมาถึงสมัยใหม่ มาร์กซ์ได้ยกย่องนักปรัชญาวัตถุนิยม เช่น สปิโนซ่าเห็นว่าสสารเป็นพื้นฐานของเอกภพ เป็นต้น และนักปรัชญาวัตถุนิยม ให้ทรรศนะในเรื่องสสารที่สำคัญ เช่น บอกว่ามนุษย์เป็นสสารซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของสสาร และในด้านทฤษฎีความรู้ และอภิปรัชญายังคงให้ความสำคัญแก่สสาร อาจเป็นเพราะเขาไม่ชอบระบบศักดินา ศาสนาคริสต์ และปรัชญาจิตนิยม ซึ่งสิ่งนี้คือแรงบันดาลใจวาทะของมาร์กซ์ที่กล่าวว่า “ศาสนา คือ ยาเสพติดของประชาชน” ศาสนาเป็นเครื่องมือของชนชั้นสูง เพื่อรักษาสถานภาพทางสังคม

แนวคิดของนักปรัชญาอื่น 
มาร์กซ์ได้เรียนปรัชญาของเฮเกล ซึ่งเฮเกลมีปรัชญาว่า ความจริงแท้มีสภาพเป็นจิต โลกและประวัติศาสตร์ของมนุษย์ต่างเป็นผลพัฒนาของจิต พัฒนาไปจนถึง “จุดเอกภาพ” และไม่หยุดเพียงแต่จุดที่พัฒนาต่อไป ภายใต้เงื่อนไขของภาวะขัดแย้ง ซึ่งมีอยู่ 3 ขั้น คือ สภาวะพื้นฐาน (Thesis) สภาวะขัดแย้ง (Anti Thesis) และสภาวะสังเคราะห์ (Synthesis) จนกว่าจะบรรลุจุดสูงสุดที่เรียกว่า “สัมบูรณจิต”

จากรูปข้างต้น เฮเกลอธิบายว่า Idea ( Thesis ) คือสภาวะพื้นฐานกับธรรมชาติ ทั้งสองสิ่งเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วขัดแย้งกัน Nature ( Antithesis ) ทำให้เกิดขึ้นสูงขึ้นคือ Spirit (Synthesis) ซึ่งเฮเกลเชื่อว่ามนุษย์พัฒนาจิดสมบูรณ์ได้ถือว่ามนุษย์เจริญสูงสุด

นักปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อมาร์กซ์อีกท่านคือ ลุดวิก ฟอยเออร์บัด กล่าวว่าประวัติศาสตร์มนุษยชาติเป็นกิจกรรมทางวัตถุ เชื่อว่าการที่จะรู้จักมนุษย์ต้องรู้จักที่ตัวเขา ศึกษาธรรมชาติฝ่ายวัตถุเป็นที่มาของความรู้สึกนึกคิดของเขาให้เข้าใจ แต่มาร์กซ์คิดว่าฟอยเออร์บัดนั้น ไม่ได้ให้ความสำคัญแก่ประวัติศาสตร์ของมนุษย์อย่างแท้จริง เพราะมนุษย์ที่เขารู้จักนั้น คือมนุษย์ที่รู้จักกันในทางชีววิทยานั่นเอง ไม่ใช่ดำรงชีวิตแบบภายใต้เงื่อนไขของประวัติศาสตร์ ซึ่งความคิดทั้งสองท่านนี้ มาร์กซ์ปฏิเสธปรัชญาจิตนิยมของเฮเกล แต่รับเอามรรควิธีวิภาษของเฮเกลมาใช้ในการแสวงหาความจริงจากสังคม และธรรมชาติโดยสลัดจิตนิยมของเฮเกลทิ้ง

วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ 
วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ คือ การนำหลักการวิภาษวิธีมาใช้ เพื่อศึกษาค้นคว้า และทำความเข้าใจชีวิตทางสังคม หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นการประยุกต์หลักการ หรือมองชีวิตทางสังคมแบบวิภาษวิธี

แนวคิดของมาร์กซ์นั้นเห็นว่ามนุษย์ และชีวิตทางสังคมเป็นวัตถุอย่างหนึ่งย่อมมีการเคลื่อนไหว จึงต้องยึดหลักการวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ มาร์กซ์เห็นว่า มนุษย์ในสังคมแต่ละยุคต่างทำการผลิต จากนั้นความสัมพันธ์ทางการผลิตที่เหมาะกับสังคมยุคนั้นจึงอุบัติขึ้นเป็นที่มาของรากฐานทางเศรษฐกิจในสังคมซึ่งเป็นสิ่งที่กำหนดสภาวะทางสังคม เป็นสิ่งที่เข้าใจด้วยกระบวนการวิภาษวิธี มาร์กซ์ได้แบ่งสังคมมนุษย์ออกเป็น 3 ยุค คือ

  1. ยุคทาส เกิดการต่อสู้ทางชนชั้นในสังคมระหว่างทาสกับนายทาส
  2. ยุคศักดินา เกิดการล้มล้างระบบศักดินาหรือมูลนายเจ้าของที่ดิน จากนั้นเป็นระบบทุนนิยมได้เกิดขึ้น
  3. ยุคนายทุน นายทุนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ผู้ใช้แรงงานเป็นอิสระที่จริง แต่การดำรงชีวิตขึ้นอยู่กับนายทุน เพราะต้องขายแรงงานของคนแก่นายทุน เปิดโอกาสให้นายทุนกดขี่ขูดรีด
ระบบทุนนิยม 
มาร์กซ์ได้เขียนหนังสือทุนซึ่งมีสาระสำคัญคือ ระบบนายทุนเหมือนกับระบบเศรษฐกิจอื่น ๆในประวัติศาสตร์ สังคมมนุษย์มีผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ ผู้ได้ประโยชน์จากระบบนี้ คือ นายทุน เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ส่วนผู้เสียผลประโยชน์ คือ กรรมกร ที่ทำงานแลกค่าจ้างจากนายทุน ซึ่งมาร์กซ์วางหลักการใหญ่ไว้ 2 หลักการ คือ

  1. ทฤษฎีมูลค่าจากกำลังงาน มาร์กซ์ได้เน้นว่า ปัจจัยอื่นนอกจากแรงงานไม่สามารถทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ได้ แรงงานยังเป็นที่มาของราคาผลผลิต เช่น ถ้าใช้กำลังงานจากแรงงานของกรรมกร 10 หน่วย ก็จะทำให้เกิดค่า 10 หน่วยตามมาด้วย
     
  2. ทฤษฎีมูลค่าส่วนเกิน คือ ทฤษฎีที่ว่าด้วยกำไรที่พวกนายทุนเบียดบังจากผู้ใช้แรงงานเช่น สมมติว่าใน 7 ปอนด์ กรรมกรได้ค่าจ้าง 2 ปอนด์ ความจริงนั้นเงิน 2 ปอนด์ ที่กรรมกรได้รับน้อยกว่ามูลค่าของกำลังแรงงานที่กรรมกรควรจะได้ มาร์กซ์เรียกมูลค่าที่ไม่ได้จ่ายกับกรรมกรนั้นว่ามูลค่าส่วนเกิน
มาร์กซ์เห็นว่า ในที่สุดกรรมกรจะร่วมมือกันกำจัดนายทุน และระบบทุนนิยม ซึ่งเป็นที่มาแห่งความทุกข์ยากของเขาไป และกรรมกรจะช่วยจัดระบบสังคมใหม่ คือ สังคมนิยม คือรัฐจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งหมด แต่ละคนจะทำงานให้รัฐ และได้รับผลตอบแทนตามกำลังงานของตน มาร์กซ์เรียกการปกครองนี้ว่า “เผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ” และระบบนี้จะปูทางไปสู่ระบบคอมมิวนิสต์ต่อไป

เรื่องระบบนายทุน มาร์กซ์ให้ความเห็นว่ามนุษย์ในระบบนายทุนไม่มีความรู้สึกที่ต้องการเห็น ฟัง คิด รักษา จุดประสงค์อย่างเดียว คือ ต้องการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของตนเหนือวัตถุทั้งหลาย ในที่สุดสิ่งที่มนุษย์ต้องการเป็นเจ้าของกลับกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือความเป็นอยู่ของมนุษย์ อันเป็นการนำไปสู่ปรากฎการณ์ของปัจจัยลดคุณค่าของมนุษย์

ปัจจัยลดคุณค่าของมนุษย์ มีดังนี้

  1. มนุษย์ในระบบทุนนิยมจะห่างเหินจากผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้นเอง
  2. มนุษย์ในสังคมทุนนิยมถูกแยกออก และห่างเหินจากผลผลิตของตัว โดยที่ตัวมนุษย์เองหาได้มีคุณค่า แต่สิ่งที่มนุษย์ผลิตกลับมีคุณค่าขึ้นมาแทน
  3. มนุษย์จะถูกแยกออกจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เนื่องมาจากการแข่งขัน และความขัดแย้งระหว่างมนุษย์
ระบบสังคมทุนนิยม 
ระบบสังคมทุนนิยม คือ การที่เจ้าของปัจจัยการผลิต เปลี่ยนจากคนส่วนน้อยมาเป็นรัฐ ไม่มีผู้กดขี่และผู้ถูกกดขี่ สินค้าที่ผลิตขึ้นมาจะถูกจำหน่ายจ่ายแจกตามแรงงานที่ทำลงไป ไม่มีการขูดรีดระหว่างกัน ทั้งนี้ เพราะลักษณะทางสังคมของการผลิต สอดคล้องกับการที่สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกัน ความสัมพันธ์ทางการผลิต พลังทางการผลิต (Productive farce) ในทางสังคมเรียกว่า ฐานทางเศรษฐกิจ (Economic Base) หรือโครงสร้างส่วนล่าง ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดสภาวการณ์ทางสังคม เช่น ระบบการปกครอง ศิลปวัฒนธรรม กฎหมาย ปรัชญา และศาสนา เป็นต้น เรียกว่า โครงสร้างส่วนบน โครงสร้างส่วนบนจึงเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับโครงสร้างส่วนล่างดังแผนภาพ

ระบบคอมมิวนิสต์แบบทุนนิยม 
บุคคลแรกที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานของลัทธิคอมมิวนิสต์ คือ คาร์ล มาร์กซ์ เขามีความคิดว่า วัตถุเป็นตัวกำหนดให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นในประวัติศาสตร์หรือที่เรียกกันว่า “ลัทธิวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์” (historical materialism) และในการที่มาร์กซ์นำ “วัตถุ” มาใช้ในการตีความทางประวัติศาสตร์ มาร์กซ์ได้ย้ำให้เห็นว่า “วัตถุ” เป็นเรื่องของเศรษฐกิจ ฉะนั้น จึงได้เรียกทฤษฎีของมาร์กซ์ว่ามีลักษณะเป็น “economic determinism” อันหมายถึงว่า เศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อสังคม ทั้งในด้านการเมือง การศึกษา ศาสนา ปรัชญา ศิลปวัฒนธรรม

การมองประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยมมุ่งสนใจส่วนที่เป็นพื้นฐาน ได้แก่ สนใจเรื่องการผลิต และการทำมาหากินของมนุษย์ว่าเป็นรากฐานของประวัติศาสตร์ และเมื่อพลังการผลิตเปลี่ยนแปลงไปก็จะมีผลกระทบให้ความสัมพันธ์ในการผลิต และระบบกรรมสิทธิ์เปลี่ยนแปลงไปด้วย ฉะนั้นการขัดแย้งกับโครงสร้างส่วนบนซึ่งพยายามที่จะรักษาสถานภาพดั้งเดิมจึงเกิดขึ้น ทำให้เกิดการปฏิวัติสังคมเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะเดียวกันโครงสร้างส่วนบนอันได้แก่ ระบบการเมืองและวัฒนธรรม จะต้องเปลี่ยนแปลงจนสอดคล้องกับพลังการผลิต และระบบกรรมสิทธิ์ เพราะฉะนั้นการมองประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยมดังกล่าวแล้ว จะทราบได้ว่าพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์เป็นเรื่องของความขัดแย้งเชิงเศรษฐกิจ

การวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ โดยถือเอาเศรษฐกิจเป็นตัวนำในส่วนที่เกี่ยวกับการเมืองแล้ว ย่อมมีความสำคัญต่ออุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นอันมาก ทั้งนี้ เพราะมาร์กซ์มองการเมืองว่าเป็นการต่อสู้ของชนชั้น(social class) อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขัดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และในทรรศนะของมาร์กซ์นั้น การต่อสู้ระหว่างชนชั้นได้แก่ ผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองเท่านั้น สำหรับในสังคมนายทุน (capitalist) นั้น มาร์กซ์กล่าวว่า มีคนอยู่ 2 ชนชั้น ได้แก่ นายทุน หรือกระฎุมพี (capitalists or bourgeoisie) กับผู้ใช้แรงงาน หรือชนชั้นกรรมาชีพ (proletariat) ซึ่งมาร์กซ์มีความเห็นว่าต้องล้มล้างระบบนายทุน และเมื่อปราศจากนายทุนแล้ว สังคมคอมมิวนิสต์ ตามที่มาร์กซ์คิดก็จะเกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นสังคมที่ไม่มีการแบ่งชนชั้น และการขัดแย้งอีกต่อไป เพราะชนชั้นอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความแตกต่างทางเศรษฐกิจจะสูญหายไป ทรัพย์สินจะตกเป็นของส่วนกลาง และแต่ละคนจะได้รับผลประโยชน์จากการทำงานตามความจำเป็นในการยังชีพของตน โดยไม่คำนึงว่าใครจะทำงานมาก หรือทำงานน้อย และในที่สุดระบบเศรษฐกิจในสังคมคอมมิวนิสต์จะไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ (exploitation)โดยชนชั้นหนึ่งจากอีกชนชั้นหนึ่ง มาร์กซ์อธิบายต่อไปว่า เมื่อสังคมปราศจากเสียซึ่งชนชั้นแล้ว คือเมื่อไม่มีชนชั้นปกครองกับชนชั้นผู้ถูกปกครอง รัฐก็จะสลายตัวไป เพราะไม่มีความจำเป็นต้องมีการปกครองต่อไปอีก และกระบวนการสลายตัวของรัฐแบบนี้ มาร์กซ์เรียกว่า “รัฐจะร่วงโรยหมดสิ้นไปเอง” (the state will wither away)

สำหรับคำว่า “คอมมิวนิสต์” นั้น มาร์กซ์ และฟรีดริช เองเกลส์ (Friedrich Engels) ได้ใช้คำนี้เป็นครั้งแรกในการเขียน “คำประกาศของคอมมิวนิสต์” (the Communist Manifesto) ในระหว่างปี ค.ศ. 1847-1848 ซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกสารสำคัญที่อธิบายถึงหลักการของคอมมิวนิสต์ สาระสำคัญ “คำประกาศของคอมมิวนิสต์” ได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของสังคมว่า เป็นประวัติการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ทาสต่อสู้กับนายทาส ไพร่ต่อสู้กับเจ้าของที่ดิน กรรมกรต่อสู้กับนายทุน และในขั้นตอนสุดท้ายกรรมกรซึ่งเป็นชนชั้นที่ถูกขูดรีดมีความต้องการที่จะเปลี่ยนความสัมพันธ์ในการผลิตหรือระบบกรรมสิทธิ์และโครงสร้างส่วนบน (superstructure) อันได้แก่ ระบบกฏหมาย การเมือง วัฒนธรรม และระบบความคิด ทั้งนี้เพื่อที่จะยุติการขูดรีด

เมื่อพลังการผลิตของแรงงานได้พัฒนาถึงขั้นพร้อมเต็มที่ ก็จะเกิดการปฏิวัติสังคม ฝ่ายต่อสู้จะประสบชัยชนะ ซึ่งจะเป็นผลให้ระบบกรรมสิทธิ์ และโครงสร้างส่วนบนเปลี่ยนแปลงไป การปฏิวัติได้เกิดขึ้นตลอดเวลาในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มีการเปลี่ยนแปลงระบบกรรมสิทธิ์ และระบบการปกครองสืบต่อเนื่องมาไม่ขาดสาย นับตั้งแต่จากระบบทาสมาสู่ระบบศักดินา จนกระทั่งถึงระบบนายทุน และการปฏิวัติครั้งสำคัญที่สุดก็ คือ การปฏิวัติล้มระบบกรรมสิทธิ์ และระบบนายทุน เพราะการปฏิวัติที่ผ่านมานั้นเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตจากคนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งไปสู่คนกลุ่มน้อยอีกกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เพราะฉะนั้นการขูดรีดยังคงมีอยู่ต่อไป แต่การปฏิวัติล้มล้างระบบนายทุนจะทำให้การขูดรีดสิ้นสุดลง เพราะจะมีการโอนปัจจัยการผลิตมาเป็นของส่วนรวม

ตามทฤษฎีของมาร์กซ์ ได้บรรยายถึงความสัมพันธ์ทางการผลิต ซึ่งแสดงถึงการต่อสู้ทางชนชั้นของสังคมแต่ละยุค

  1. ยุคดั้งเดิม มนุษย์ในยุคนั้นมีจำนวนน้อย แต่ทรัพยากรธรรมชาติมีมาก ไม่จำเป็นต้องมีการแก่งแย่งกัน สังคมในยุคดั้งเดิมจึงเป็นสังคมขนาดเล็ก ไม่มีชนชั้น และมนุษย์ยังไม่มีความสำนึกในเรื่องกรรมสิทธิ์ อาจเรียกได้ว่าเป็น “สังคมคอมมิวนิสต์บุพกาล” ก็ได้
     
  2. ยุคทาส เมื่อพลังการผลิตพัฒนาขึ้น เกิดการเลี้ยงสัตว์ และเกษตรกรรมขนาดใหญ่ จึงมักมีผลิตผลเหลือเฟือ ทำให้บุคคลกลุ่มหนึ่งที่แข็งแรงกว่ายึดเอาแรงงานของผู้อื่นมาเป็นของตน โดยให้แรงงานเหล่านั้นส่งผลผลิตให้แก่ตน ซึ่งในตอนเริ่มแรกได้มีการบังคับเอาเชลยศึกมาเป็นทาส ต่อมาก็ได้มีการนำเอาคนในสังคมเดียวกันมาเป็นทาส จึงทำให้เกิดระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลและชนชั้น ตลอดจนการขูดรีด
     
  3. ยุคศักดินา สืบต่อมาจากการพัฒนาการผลิตของแรงงานนำไปสู่การขัดแย้งความสัมพันธ์ทางการผลิตของระบบทาส กล่าวคือ การกดขี่ทาสทำให้ทาสไม่สนใจในการผลิต ฉะนั้นการผลิตขนาดเล็ก โดยผู้เช่าที่ดินเริ่มมีประสิทธิภาพ ทาสได้รับการปลดปล่อยและการได้เช่าที่ดินทำมาหากิน โดยผู้เช่า และผู้สืบสายโลหิตต้องติดอยู่กับที่ดินนั้น ทำให้เกิดเป็นระบบศักดินา คือ เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตกึ่งเป็นเจ้าของผู้ทำกินในที่ดิน ซึ่งเรียกว่าทาสติดที่ดิน หรือไพร่
     
  4. ยุคนายทุน เป็นยุคสืบต่อจากยุคศักดินา คือ เมื่อพลังการผลิตได้พัฒนามาถึงระดับการผลิตเพื่อการขยายผลิตผลเป็นสินค้า และเป็นการผลิตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่โดยใช้เครื่องจักร จึงเกิดระบบนายทุนแทนระบบศักดินา ไพร่ได้รับการปลดปล่อย ส่วนผู้ทำงานในโรงงาน หรือกรรมกร ไม่มีปัจจัยการผลิต คงมีแต่แรงงานขายเลี้ยงชีวิต ขณะเดียวกันนายทุนกลับร่ำรวย และสะสมกำไรไว้ในมือ การขูดรีดได้เปลี่ยนสภาพจากการเป็นเจ้าของที่ดินกับไพร่ มาเป็นการขูดรีดระหว่างนายทุนกับผู้ใช้แรงงาน โดยนายทุนกดค่าจ้างแรงงาน และเอาค่าส่วนเกินของแรงงานเป็นของนายทุน (surplus value) คือมูลค่าของสินค้าแรงงานผลิตที่ได้เกินไปกว่าค่าจ้าง
เมื่อพิจารณาทรรศนะของมาร์กซ์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ และการเมืองของมนุษย์ได้วิวัฒนาการโดยสันติวิธี แต่เป็นระบบเศรษฐกิจ และการเมืองที่ผูกขาดโดยคนกลุ่มน้อย คือผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ซึ่งขูดรีดคนกลุ่มใหญ่ทำให้เกิดการต่อสู้ และการขัดแย้ง มาร์กซ์เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของประวัติศาสตร์มนุษย์นั้น เป็นเรื่องของการต่อสู้ และการปฏิวัติ มาร์กซ์ และเองเกลส์ได้เน้นให้ตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ได้ก้าวสู่ยุคพัฒนาขึ้นโดยลำดับ

ฉะนั้น เขาทั้งสองจึงมีความเห็นว่า ระบบสังคมนิยม หรือระบบคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นยุคสุดท้ายที่ดีที่สุดของมนุษย์ จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน โดยการปฏิวัติของชนชั้นกรรมาชีพ อันเป็นการเกิดขึ้นตามกฎไดอะเล็กติค ฉะนั้น มาร์กซ์และเองเกลส์ จึงเชื่อว่าสังคมนิยมตามแนวความคิดของเขาเป็น “สังคมนิยมแบบวิทยาศาสตร์”

มาร์กซ์มีความเชื่อมั่นว่า ชนชั้นกรรมาชีพสามารถมีจิตสำนึกได้เองว่าฝ่ายตนถูกขูดรีด โดยได้รับ หรือผ่านทางประสบการณ์ในการทำงาน และการดำรงชีพ ครั้นเมื่อสำนึกแล้วชนชั้นกรรมาชีพจะร่วมมือกันปฏิวัติล้มล้างนายทุน ดังปรากฏใน “คำประกาศของคอมมิวนิสต์” (The Communist Manifesto) ซึ่งมาร์กซ์และเองเกลส์ร่วมกันร่างไว้ สรุปได้ว่า ทุกคนจะมีเสรีภาพ ซึ่งเกิดขึ้นมาพร้อมกับชัยชนะขั้นสุดท้ายของชนชั้นกรรมาชีพ โดยกระบวนการของการปฏิวัติ และสังคมจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคคอมมิวนิสต์ ซึ่งมาร์กซ์เชื่อว่าเป็นยุคสุดท้าย คือเป็นสังคมที่ไม่มีการขัดแย้งกันทางชนชั้น เป็นสังคมที่ปราศจากชนชั้น (classless society) ไม่มีกฎหมาย ไม่มีการปกครอง และรัฐจะต้องอันตรธานไป (state will wither away)

ทฤษฎีปฏิวัติสังคมของมาร์กซ์ ได้รับการนำไปขยายความต่อเติมโดยเลนิน (Lenin) เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับประเทศรัสเซีย และเหมา เจ๋อ ตุง (Mao Tse-Tung) เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในจีน

ในส่วนที่เกี่ยวกับวิวัฒนาการของลัทธิคอมมิวนิสต์นั้น จากการศึกษาวิวัฒนาการของลัทธินี้เป็นที่ยอมรับกันว่า วิวัฒนาการของลัทธิคอมมิวนิสต์ในปัจจุบันเป็นการผสมผสานกันระหว่างความคิดของมาร์กซ์ และเลนิน ที่เรียกกันว่า “ลัทธิมาร์กซิสม์ และเลนินนิสม์” (Marxism and Leninism)

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โลกาภิวัตน์

โลกาภิวัตน์สมัยใหม่
โลกาภิวัตน์ในยุคตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลที่ตามมาจากการวางแผนของนักเศรษฐศาสตร์และผลประโยชน์ทางธุรกิจ รวมทั้งนักการเมืองได้ตระหนักถึงค่าใช้จ่ายที่สัมพันธ์กับลัทธิคุ้มครอง (Protectionism) การถดถอยของการรวมตัวทางเศรษฐกิจในระดับนานาชาติ ผลงานของพวกเขาได้นำไปสู่การประชุม “เบรทตัน วูด” (Bretton Woods) ที่ทำให้เกิดสถาบันนานาชาติหลายแห่งที่มีวัตถุประสงค์คอยเฝ้ามองกระบวนการโลกาภิวัตน์ที่ฟื้นตัวใหม่ คอยส่งเสริมการเจริญเติบโตและจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา สถาบันดังกล่าวได้แก่ “ธนาคารสากลเพื่อการฟื้นฟูและการพัฒนา" (ธนาคารโลก) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ทั้งสองสถาบันแสวงหาเทคโนโลยีขั้นก้าวหน้าต่างๆ มาใช้ เพื่อการลดต้นทุนการค้า มีการเจรจาทางการค้า ที่เดิมอยู่ภายใต้ความอุปถัมภ์ของ GATT ซึ่งจัดการให้มีการประชุมเพื่อเจรจาตกลงยกเลิกข้อจำกัดที่กีดขวางการค้าโดยเสรีอย่างต่อเนื่อง การประชุมรอบอุรุกวัย (พ.ศ. 2527 – พ.ศ. 2538) นำไปสู่การก่อตั้งองค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อใช้เป็นที่ไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งทางการค้า และเพื่อจัดวางพื้นฐานให้การค้าเป็นในบรรทัดฐานเดียวกัน ข้อตกลงทวิภาคี และพหุภาคีทางการค้า รวมถึงส่วนของ “สนธิสัญญามาสทริชท์” ( Maastricht Treaty) ของยุโรป และมีการตกลงและลงนามใน “ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ” (NAFTA) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดอัตราภาษีและการกีดกันทางการค้า ผลของการตกลงนี้ทำให้สินค้าที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลอเมริกันไหลบ่าท่วมท้นตลาดต่างประเทศ

การวัดความเป็นโลกาภิวัตน์


Japanese อาหารจานด่วน แมคโดแนลด์ ของญี่ปุ่นนับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวของความเป็นนานาชาติ
เมื่อมองโลกาภิวัตน์เฉพาะทางเศรษฐกิจ การวัดอาจทำได้หลายทางที่แตกต่างกัน โดยดูจากการรวมศูนย์การเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่อาจบ่งชี้ความเป็นโลกาภิวัตน์เห็นได้ 4 แนวดังนี้:
  • ทรัพยากรและสินค้าและบริการ เช่น ความต้องการทรัพยากรธรรมชาติ การส่งออกและนำเข้าสินค้าที่เป็นสัดส่วนกับรายได้ต่อหัวของประชาชาติ
  • แรงงานและคน เช่น อัตราการย้ายถิ่นฐานเข้าและออกโดยชั่งน้ำหนักกับประชากร
  • เงินทุน เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการเงิน การไหลเข้าและไหลออกของเงินลงทุนทางตรงที่เป็นสัดส่วนกับรายได้ประชาชาติและรายได้ต่อหัวของประชากร
  • อำนาจและเทคโนโลยี เช่น ความมั่นคง การย้ายขั้วทางการเมือง การเคลื่อนไหวกองกำลังติดอาวุธ การเคลื่อนไหวของงานวิจัยและพัฒนา สัดส่วนของประชากร (และอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ตามมา) ใช้เทคโนโลยีที่เกิดใหม่ (เทคโนโลยีขั้นก้าวหน้า เช่น การใช้อาวุธใหม่ การใช้โทรศัพท์ รถยนต์ อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ฯลฯ)
  • ผลกระทบของโลกาภิวัตน์

    โลกาภิวัตน์มีผลกระทบต่อโลกในหลายแง่มุม เช่น
    • อุตสาหกรรม – การปรากฏของตลาดการผลิตที่เกิดขึ้นทั่วโลก และช่องทางเข้าถึงผลิตภัณฑ์ต่างประเทศที่กว้างขึ้นสำหรับผู้บริโภคและบริษัท
    • การเงิน – การปรากฏขึ้นของตลาดการเงินทั่วโลกและการเข้าถึงเงินลงทุนจากแหล่งภายนอกที่ง่ายและสะดวกขึ้นของบริษัทต่างๆ ประเทศและรัฐต่ำกว่าประเทศที่ประสงค์ของกู้ยืม
    • เศรษฐกิจ - การยอมรับตลาดร่วมของโลกบนพื้นฐานแห่งเสรีภาพในการแลกเปลี่ยนสินค้าและทุน
    • การเมือง - การเมืองโลกาภิวัตน์หมายถึงการสร้างสรรค์รัฐบาลโลกที่จะทำหน้าที่กำกับดูแลความสัมพันธ์ระหว่างชาติและให้หลักประกันสิทธิ์ที่เกิดจากสังคมและเศรษฐกิจของโลกาภิวัตน์[5] ในทางการเมือง สหรัฐฯ ได้รับประโยชน์จากการครองอำนาจในโลกในหมู่ชาติมหาอำนาจ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและความั่งคั่งของประเทศ ด้วยอิทธิพลของโลกาภิวัตน์และจากการช่วยเหลือของสหรัฐฯ ประเทศจีนได้เจริญเติบโตอย่างมหาศาลในช่วงเพียงทศวรรษที่ผ่านมา หากจีนมีความเจริญเติบโตในอัตราตามแนวโน้มนี้ต่อไป เป็นไปได้ที่จะเกิดการเคลื่อนย้ายศูนย์อำนาจในระหว่างประเทศผู้นำภายใน 20 ปีข้างหน้า ประเทศจีนจะมีความมั่งคั่ง มีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่สามรถท้าทายสหรัฐฯ ในการเป็นประเทศมหาอำนาจผู้นำ[6]
    • ข้อมูลข่าวสาร – มีการเพิ่มการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสารระหว่างพื้นหรือภูมิภาคที่อยู่ห่างไกลกันมาก
    • วัฒนธรรม – การเจริญเติบโตของการติดต่อสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรม เกิดมีประเภทใหม่ๆ ในด้านความสำนึกและเอกลักษณ์ เช่น “โลกาภิวัตน์นิยม” - ซึ่งครอบคลุมการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมและการได้บริโภคผลิตภัณฑ์และความคิดจากต่างประเทศ การรับเทคโนโลยีใหม่มาใช้และการเข้าร่วมใน “วัฒนธรรมโลก”
    • นิเวศวิทยา – การปรากฏขึ้นของความท้าทายในปัญหาสภาวะแวดล้อมในระดับโลกที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้โดยปราศจากความร่วมระดับนานาชาติ เช่นปัญหา “การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศมลภาวะทางน้ำและอากาศที่ครอบคลุมหลายเขตประเทศ การทำประมงเกินขีดความสามารถในการรองรับ การกระจายของพันธุ์พืชและสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์ การสร้างโรงงานเป็นจำนวนมากในประเทศกำลังพัฒนาที่ก่อมลภาวะได้อย่างเสรี
    • สังคม – ความสำเร็จในการบอกรับข่าวสารโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับประชาชนของทุกชาติในโลก
    • การขนส่ง – การลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ ของรถยุโรปในถนนของยุโรป (อาจกล่าวได้เช่นเดียวกันสำหรับอเมริกา) และการสิ้นปัญหาเรื่องระยะทางที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยลดเวลาการเดินทาง [ต้องการอ้างอิง]
    • การแลกเปลี่ยนที่มากขึ้นของวัฒนธรรมสากล
      • การขยายตัวของ “อเนกวัฒนธรรมนิยม” และการเข้าถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ง่ายขึ้นสำหรับปัจเจกบุคคล (เช่นการส่งออกภาพยนตร์ของฮอลลีวูดและบอลลีวูด หรืออุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอินเดีย) อย่างไรก็ดี การนำเข้าวัฒนธรรมอาจทำให้เกิดการกลืนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ง่าย มีผลให้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีน้อยลงจากการผสมผสานระหว่างกันเกิดเป็นวัฒนธรรมพันธุ์ทาง หรืออาจถูกกลืนโดยการค่อยๆ รับวัฒนธรรมใหม่มาใช้โดยสิ้นเชิง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดในกรณีนี้ได้แก่การรับวัฒนธรรมตะวันตก (Westernization) ของหลายประเทศเมื่อเร็วๆ นี้ แต่การรับวัฒนธรรมจีน ( Sinicization) ได้เกิดขึ้นทั่วเอเชียมานานนับศตวรรษแล้ว
    • การเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่มากขึ้น
    • ด้านเทคนิค/กฎหมาย
    • การตระหนักด้านเพศ – โดยทั่วไป การมองโลกาภิวัตน์เฉพาะด้านเศรษฐกิจเป็นเรื่องง่าย แต่ในด้านเพศนี้มีเบื้องหลังในความหมายทางสังคมที่หนักแน่น โลกาภิวัตน์มีความหมายในปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศต่างๆ หลายประเทศ โลกาภิวัตน์อาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านความเสมอภาคทางเพศ และประเด็นนี้เองที่นำไปสู่การตระหนักถึงความไม่เสมอภาคของสตรีเพศ (บางครั้งเป็นความโหดร้าย) ที่เป็นอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก ตัวอย่างเช่น สตรีในในหลายประเทศในแอฟริกาที่สตรีจะต้องถูกขริบอวัยวะเพศด้วยวิธีการที่เป็นอันตราย ซึ่งโลกเพิ่งรับรู้และทำให้ประเพณีนี้ลดน้อยลง

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การปกครองของไทยในปัจจุบัน


ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย หรือระบอบ ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ มีกฎหมายสูงสุด คือรัฐธรรมนูญ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขของประเทศ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475

แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยยังเป็นประชาธิปไตยที่ไม่เป็นไปตามหลักการ มีการปฏิวัติรัฐประหารยึด อำนาจ ตั้งคณะรัฐบาลและกำหนดบทบัญญัติขึ้นเอง ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพดังที่ควรจะเป็น ดังนั้น จึงเกิดเหตุการณ์ ใหญ่ขึ้นถึง 3 ครั้ง คือ

ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 มีกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านอำนาจเผด็จการ อันประกอบไปด้วยประชาชน จากทุกสาขาอาชีพ ภายใต้การนำของนิสิต นักศึกษาจากทุกสถาบัน เป็นเหตุการณ์ที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การเมืองการ ปกครองของไทย เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้รับรู้ เกิดความหวงแหนและร่วมกันธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยที่ต้องแลกมาด้วยชีวิต และความยากลำบากของเพื่อนร่วมชาติ

เหตุการณ์ครั้งที่สอง เกิดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ได้มีนิสิตนักศึกษาและประชาชนร่วมกันปกป้องประชาธิปไตย ต่อต้านการกลับมาของกลุ่มอำนาจเก่า ทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันมีค่ายิ่งไปเป็นจำนวนมาก

และครั้งล่าสุดเกิดขึ้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 มีกลุ่มต่อต้านอำนาจเผด็จการและเรียกร้องประชาธิปไตยขึ้นอีก ผลจากการเรียกร้องในครั้งนี้ นำไปสู่การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งต่อมาได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

สถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองประเทศ มีดังนี้

1. ฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล
2. ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภา ประกอบด้วยสมาชิก 2 ส่วน คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ซึ่งประชาชนเลือกตั้งเข้ามาทั้งหมด 
และวุฒิสมาชิก ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ตามการเสนอ ขึ้นโปรดเกล้าฯ ของนายกรัฐมนตรี
3. ฝ่ายตุลาการ คือ ศาล มีหน้าที่พิจารณาคดีต่าง ๆ ให้เป็นไปตามบัญญัติของกฏหมาย เพื่อให้เกิดความ ยุติธรรมแก่ประชาชน ทั้งนี้ในรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติให้ศาลเป็นสถาบันอิสระจากรัฐสภาและรัฐบาล มีคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ทำหน้าที่ควบคุมการแต่งตั้งข้าราชการตุลาการ เพื่อให้ศาลเป็นสถาบันที่ ธำรงไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริง


ที่มา http://members.tripod.com/78_2/now.htm
วันที่ 15 กรกฏาคม 2555

การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน

ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
1. ทรงเป็นประมุขของประเทศ
2. เป็นจอมทัพไทย
3. เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทย
พระราชอำนาจของกษัตริย์ไทย
1. ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา
2. ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี
3. ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
พระมหากษัตริย์จะทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาและ
นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการทุกครั้ง ศาลจะเป็นผู้พิจารณาคดีในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ พระราชอำนาจในการเลือกและแต่งตั้งประธานองคมนตรีและองคมนตรี ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้ง และประธานองคมนตรีจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง องคมนตรีคนต่อไป
หน้าที่ขององคมนตรี ถวายคำปรึกษาและความเห็นในพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์




อำนาจอธิปไตยและการใช้อำนาจ
อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจสูงสุดในการออกกฎหมายโดยสถาบันรัฐสภา ในรัฐสภามี 2 สภา คือ
1. สภาผู้แทนราษฎร มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในอัตราส่วน 1 : 150,000 มีวาระ 4 ปี
2. วุฒิสภา มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ มีสมาชิก 2 ใน 3 ของสภาผู้แทนราษฎร มีวาระ 4 ปี
หน้าที่ของรัฐสภา
1. ทำหน้าที่ออกกฎหมาย
2. ทำหน้าที่คัดเลือกรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ
3. รัฐสภาควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐบาล
4.วุฒิสภาหรือวุฒิสมาชิกทำหน้าที่กลั่นกรองพิจารณาร่างกฎหมาย
บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.
1. เลือกคณะรัฐบาลเพื่อบริหารงาน
2. เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
3. ร่วมกันเสนอแนะ ปรับปรุงและรักษาการปกครองแบบประชาธิปไตยในสังคมให้ดีขึ้น
4. ร่วมกันตรากฎหมาย แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับของสภา
5. ควบคุมการทำงานของรัฐบาล
6. อนุมัติงบประมาณของแผ่นดิน
อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการนำกฎหมายไปบังคับใช้หรือบริหารประเทศโดยรัฐบาล
อำนาจและหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
1.ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ว่าจะปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
2. อุทิศเวลาให้แก่การบริหารราชการแผ่นดิน
3. รับผิดชอบร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร
4. มิสิทธิเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎร
5. มีสิทธิขอให้รัฐสภาเปิดอภิปรายทั่วไป
6. มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ
7. มีอำนาจขอกราบบังคมทูลให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร
8.มีอำนาจกราบบังคมทูลแต่งตั้งหรือถอดถอนข้าราชการฝ่ายทหาร พลเรือน ปลัด กระทรวง อธิบดี
9. มีอำนาจกราบบังคมทูลขอให้พระมหากษัตริย์ ประกาศกฎอัยการศึก และพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษได้
อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการตัดสินคดี โดยสถาบันศาล ซึ่งศาลแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ศาลชั้นต้น ศาล อุทธรณ์ และศาลฎีกา
ผู้พิพากษาและตุลาการ มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย
-คณะกรรมการตุลาการ มีหน้าที่แต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนตำแหน่ง เลือนเงินเดือน การลงโทษทั้งทางวินัยแก่ข้าราชการตุลาการ
- คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่วินิจฉัยว่าบทบัญญัติของกฎหมายอื่นใดขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าขัดแย้งกฎหมายนั้นจะนำมาบังคับใช้ไม่ได้ และพิจารณาคุณสมบัติของ ส.ส. วุฒิสภาและรัฐมนตรี การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน




1. การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย
- สำนักนายกรัฐมนตรี
- กระทรวง
- ทบวง
- กรม
2. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย
- จังหวัด
- อำเภอ
3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด
- เทศบาล
- สุขาภิบาล
- กรุงเทพมหานคร
- เมืองพัทยา
- องค์การบริหารส่วนตำบล


พรรคการเมือง การปกครองของประเทศไทย มีพรรคการเมืองหลายพรรค ทำให้เกิดรัฐบาลผสม
การเลือกตั้ง กระบวนการในการเลือกตั้งของประเทศไทย มีลักษณะเป็นแบบผสม ทั้งแบบแบ่งเขตและแบบรวมเขต คือ
จังหวัดใดที่มีผู้แทนได้เกิน 3 คน ใช้วิธีการแบ่งเขต แต่จังหวัดใดที่มีผู้แทนได้ไม่เกิน 3 คน จะใช้แบบวิธีรวมเขต

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภควัทคีตา..คัมภีร์ของผู้นำ

ภควัทคีตา..คัมภีร์ของผู้นำ



...เมื่อใดที่ข้าพเจ้ารู้สึกผิดหวังท้อแท้ มองไม่เห็นหนทางในการแก้ปัญหาชีวิต
เมื่อนั้นข้าพเจ้าจะหันเข้าหา ภควัทคีตา...
หลังจากได้อ่านบทโศลกอันช่วยประโลมดวงใจอ่อนล้านั้นแล้ว
ข้าพเจ้าก็จะยิ้มออกท่ามกลางภาวะรุมเร้าของความยากลำบาก
ชีวิตของข้าพเจ้าดำเนินมาท่ามกลางความรันทุดทุกข์ยาก
แต่ความขุกเข็ญเหล่านั้นต่างก็ค่อยๆ มลายหายไป ทั้งนี้ ก็ด้วยอาศัยพลังใจจาก ภควัทคีตา ที่ข้าพเจ้าเป็นหนี้อยู่สุดคำนวณนับ...มหาตมะ คานธี
ได้อ่านงานเขียนของอาจารย์กรุณาเรืองอุไร เรื่อง มหาภารตะ แล้ว ประทับใจอย่างมากเลยค่ะ เป็นเรื่องที่ทำให้ได้รับความรู้มากมาย วรรณคดีของไทยมากมายล้วนแล้วแต่ต่อยอดมาจากเรื่องของ มหากาพย์มหาภารตะทั้งสิ้น 
ใครก็ตามที่ได้อ่าน รามเกียรติ์ อันเป็นเรื่องราวของสุริยะวงศ์ (สายสกุลพระอาทิตย์)  จะต้องลองอ่าน มหาภารตะ อันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ จันทรวงศ์ (สายสกุลพระจันทร์) เพราะ ในมหาภารตะนั้น จะมีเรื่องของภควัทคีตา แทรกอยู่ด้วย เพราะ ภควัทคีตา นั้น แสดงถึงปรัชญาอันลุ่มลึกซับซ้อน และ จะนำท่านไปสู่โลกอีกโลกหนึ่ง...ซึ่งอาจอยู่ที่ไหนสักแห่ง ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง อันอาจจะเป็นวันนี้ เมื่อวาน หรือ เมื่อสองพันปีล่วงมาแล้ว...ก็ตาม แต่คำสอนและความรู้ที่เราได้จากการอ่านภควัทคีตานี้จะทำให้เราตระหนักในหลักธรรม คำสอน ของ พระเป็นเจ้า คิดดี ทำดี ย่อมมีชัยเหนืออธรรม
                        
อยากแนะนำผลงานวรรณกรรมจาก มหากาพย์มหาภารตะ ของมหาฤาษี กฤษณะ ไทวปายนะ วยาสะ (วยาส) แปลและเรียงเรียงโดย สมภาร พรมทา อันเป็นคัมภีร์โบราณ
                              
ภควัทคีตา เป็นชื่อคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาฮินดู โดยเฉพาะสำหรับนิกายไวษณพหรือผู้ที่ยกย่องพระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นพระเจ้าสูงสุด ชื่อคัมภีร์ ภควัทคีตา (ภควตฺ + คีตา) แปลว่า "บทเพลง (หรือลำนำ) แห่งพระผู้เป็นเจ้า"
คัมภีร์นี้มิได้มีลักษณะเป็นเอกเทศ คือมิได้แต่งขึ้นมาอย่างโดดเดี่ยวเป็นเล่มเฉพาะเหมือนดังคัมภีร์พระเวทแต่ละเล่ม แท้ที่จริงเป็นเพียงบทสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคล คน ซึ่งเป็นข้อความที่แทรกเข้ามาในบรรพที่ 6 (ภีษมบรรพ) แห่งมหากาพย์มหาภารตะ 
ในบทสนทนาโต้ตอบดังกล่าวนี้ ฝ่ายที่ถามปัญหาคือพระอรชุน เจ้าชายฝ่ายปาณฑพแห่งจันทรวงศ์ซึ่งเป็นผู้นำกองทัพใหญ่มาทำสงครามแย่งชิงเมืองหัสตินาปุระจากฝ่ายเการพแห่งจันทรวงศ์เช่นเดียวกัน ซึ่งมีเจ้าชายทุรโยธน์และกองทัพพันธมิตรมากมายเป็นศัตรูคู่สงครามด้วย
ฝ่ายที่ตอบปัญหาทั้งหมดและเป็นผู้อธิบายตลอดทั้งเรื่องก็คือ พระกฤษณะ ซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายราชสกุลจันทรวงศ์ สาขายาทพ
ในขณะที่ตอบปัญหาอันล้ำลึกดังกล่าวนั้น พระกฤษณะกำลังทำหน้าที่เป็นสารถีขับรถศึกให้พระอรชุน บทสนทนาโต้ตอบนี้ถ่ายทอดออกมาโดยสญชัย ผู้เป็นเสวกามาตย์ของพระเจ้าธฤตราษฏร์ พระราชาพระเนตรบอดแห่งเมืองหัสตินาปุระ โดยมหาฤษีวยาสหรือพระฤษีกฤษณไทวปายนเป็นผู้ให้ตาทิพย์แก่สญชัย เพื่อแลเห็นเหตุการณ์รบพุ่งในมหาสงครามครั้งนั้นอย่างแจ่มแจ้งทั้งๆ ที่นั่งอยู่ในพระราชวัง และคอยกราบทูลพระเจ้าธฤตราษฎร์ให้ทราบการเคลื่อนไหวทุกขณะในสมรภูมิ
เพราะฉะนั้นข้อความสนทนาระหว่างบุคคลทั้ง ในสนามรบก่อนจะเริ่มมหาสงครามจึงเป็นถ้อยคำที่สัญชัยเรียบเรียงทูลถวายพระเจ้าธฤตราษฎร์ และมาให้ชื่อกันในภายหลังว่า ภควัทคีตา ทั้ง ๆ ที่ชื่อเดิมในมหาภารตะเรียกข้อความตอนนี้ว่า ภควัทคีโตปนิษัท (ภควตฺ + คีตา + อุปนิษทฺ)
ด้วยเหตุที่มีข้อความหลายตอนคัดลอกมาจาก คัมภีร์อุปนิษัท ฉบับต่างๆ อันเป็นหมู่คัมภีร์รุ่นสุดท้ายในสมัยพระเวท ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เวทานตะ (ที่สุดแห่งพระเวท) ตลอดจนความคิดเรื่องอาตมัน ปรมาตมัน พรหมัน อันเป็นแก่นหรือสาระสำคัญที่สุดในคำสอนของอุปนิษัททุกเล่ม ก็มีกล่าวถึงหลายต่อหลายครั้งในภควัทคีตา จะแตกต่างกันเล็กน้อยก็ตรงที่ว่าข้อความในคัมภีร์อุปนิษัทนั้นแต่งเป็นภาษาร้อยแก้ว แต่ในคัมภีร์ภควัทคีตาแต่งเป็นบทร้อยกรอง ฉะนั้น
ถ้าจะกล่าวโดยแท้จริงแล้ว คำสอนในคัมภีร์ภควัทคีตา เกือบครึ่งเล่มเป็นคำสอนในคัมภีร์อุปนิษัท และอีกกว่าครึ่งเล่มเป็นคำสอนแบบของพวกภาควตะ ซึ่งบูชาพระกฤษณะเป็นเทพสูงสุดในนิกายของตน และคำสอนแบบดังกล่าวนี้มีมานานแล้วในหมู่พวกภาควตะอันเป็นชนอารยันอินเดียเผ่าหนึ่ง ต่อมาพวกนิกายไวษณพ หรือพวกที่นับถือพระวิษณุเป็นพระเจ้าสูงสุดได้ผนวกเอาพระกฤษณะเข้าไปเป็นพระวิษณุอวตาร หรือนารายณ์อวตารปางที่ 8
คำสอนของพวกภาควตะซึ่งเน้นในเรื่องความนับถือพระกฤษณะเป็นเทพสูงสุดก็ถูกกลืนเข้าไปผสมผสานกับแนวความคิดของพวกไวษณพที่มีส่วนในการแต่งมหากาพย์มหาภารตะอยู่มากมายหลายตอนจึงปรากฏออกมาในรูปภควัทคีตาดังที่ปรากฏเป็นที่รู้จักกันทุกวันนี้ และการที่จะเรียกหนังสือศักดิ์สิทธิ์เล่มนี้ว่า ภควัทคีโตปนิษัท หรือ ภควัทคีตา หรือ คีตา เฉย ๆ ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึงคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของคนอินเดียนิกายไวษณพ ในรูปแบบของบทสนทนาที่มีข้อความเกือบทั้งหมด เป็นคำอธิบายเรื่องวิถีทางไปสู่พระผู้เป็นเจ้าอันสูงสุด
ส่วนบทที่เป็นคำถามของพระอรชุนในเรื่องความลึกลับและวิถีทางแห่งพระผู้เป็นเจ้านั้น ก็เป็นเพียงส่วนประกอบที่เล็กน้อยเหลือเกิน คล้าย ๆ กับเป็นบทเชื่อมต่อระหว่างคำอธิบายอันยืดยาว แต่ละตอนของพระเจ้าในร่างมนุษย์คือพระกฤษณะเท่านั้นเอง
คัมภีร์ภควัทคีตา แบ่งออกเป็นตอน ๆ เรียกว่า อัธยายะ รวมทั้งสิ้น 18 อัธยายะด้วยกัน
ภควัทคีตา มี 18 อัธยายะ
หรือบท 1.อรชุนวิษาทโยคะ (ความท้อถอยของอรชุน) 2.สางขยโยคะ (หลักทฤษฎี) 3.กรรมโยคะ (หลักปฏิบัติ) 4.ชญาณกรรมสันยาสโยคะ (หลักจำแนกญาณ) 5.กรรมสันยาสโยคะ (หลักว่าด้วยการสละกรรมและการประกอบกรรม) 6.ธยานโยคะ (หลักการเข้าฌาน) 7.ชญาณโยคะ (หลักญาณ) 8.อักษรพรหมโยคะ (หลักว่าด้วยพรหมไม่เสื่อมเสีย)9.ราชวิทยาราชคุยหโยคะ (หลักว่าด้วยเจ้าแห่งวิทยาและเจ้าแห่งความลึกลับ) 10.วิภูติโยคะ (หลักทิพยศักดิ์) 11.วิศวรูปทรรศนโยคะ (หลักว่าด้วยการเห็นธรรมกาย)


12.ภักติโยคะ (หลักความภักดี) 13.เกษตรชญวิภาคโยคะ (หลักจำแนกร่างกายและผู้รู้ร่างกาย) 14.คุณตรัยวิภาคโยคะ (หลักจำแนกคุณ 3) 15.ปุรุโษตตมโยคะ (หลักว่าด้วยบุรุษประเสริฐ) 16.ไทวาสุรสัมปทวิภาคโยคะ (หลักว่าด้วยการจำแนกเทวสมบัติและอสูรสมบัติ) 17.ศรัทธาตรัยวิภาคโยคะ (หลักจำแนกศรัทธา 3) 18.โมกษสันยาสโยคะ (หลักว่าด้วยการสละที่เป็นปฏิปทาแห่งโมกษะ)
คัมภีร์ภควัทคีตาว่าด้วยหลักธรรม ประการ คือ หลักอภิปรัชญา ว่าด้วยเรื่องอาตมันว่ามีสภาพเป็นสัตว์ที่เที่ยงแท้ถาวร ไม่มีใครฆ่าหรือทำลายได้ และหลักจริยศาสตร์ ว่าด้วยธรรมะหรือหน้าที่ของกษัตริย์ คือหน้าที่รบเพื่อทำลายล้างอธรรม และผดุงศีลธรรมโดยไม่หวังผลตอบแทน
     
ภาพจากอินเทอร์เนต

อยากเห็นการเมืองการปกครองของไทยเรานี้....เป็นเหมือนอย่างการเมืองการปกครองในมหากาพย์ภารตะมากเลยค่ะ ....

มหากาพย์มหาภารตะ เป็นเอกภาพในท่ามกลางความแตกต่าง และเจตจำนงของวรรณกรรมชิ้นที่ได้สร้างภาพประทับใจให้เกิดแก่ผู้อ่านและผู้ฟังว่า อินเดียเป็นผืนแผ่นดินทีขึ้นอยู่กับศูนย์กลางการปกครองแหล่งเดียวกัน มีขนบธรรมเนียมอันองอาจแกล้วกล้าของตนเอง เป็นเครื่องช่วงหล่อหลอมและสมัครสมานความสามัคคี  
                      มหากาพย์มหาภารตะนี้ได้เน้นสอนให้เรารู้จักความสำคัญของหลักศีลธรรมและจริยธรรมในการปกครองบ้านเมือง ตลอดจนในการดำเนินชีวิตโดยทั่วๆ ไป ซึ่งเราเรียกว่า ธรรมะ หากปราศจากพื้นฐานแห่งธรรมนี้แล้วไซ้ร์ ชีวิตก็จะไม่มีความสุขอย่างแท้จริง และสังคมก็จะไม่มีอะไรเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวกันไว้ได้ เป้าหมายที่คนในสมัยนั้นต้องการบรรลุถึงก็คือ สวัสดิภาพของสังคม ซึ่งมิใช่เป็นแต่เพียงสวัสดิภาพของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น หากแต่เป็นสวัสดิภาพของสังคมทั้งผอง ทั้งนี้ก็เป็นไปตามอุดมการณ์ที่ว่า
                ในโลกนี้สรรพสัตว์ย่อมต้องพึ่งพาอาศัยกัน แต่ถึงกระนั้นธรรมะเองก็สัมพันธ์และขึ้นอยู่กับกาลเวลาและสภาวการณ์ที่เป็นอยู่ ยกเว้นแต่หลักอันเป็นมูลฐานบางประการ เช่น หลักแห่งการยึดมั่นอยู่กับสัจธรรม หลักแห่งการไม่เบียดเบียนผู้อื่น หรือที่เรียกกันว่าหลักอหิงสา ฯลฯ อันเป็นหลักที่ธำรงอยู่โดยไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ส่วนหลักอื่นนอกเหนือจากนี้ที่เรียกกันว่า ธรรมะ อันหมายถึง สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบนั้น ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
        หลักอหิงสา ได้รับการเน้นหนักในมหากาพย์มหาภารตะนี้ เช่นเดียวกับที่ได้รับการเน้นหนักในที่อื่น ทั้งนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะว่า หลักการนี้ดูไม่ขัดอะไรกับอุดมการณ์ของการต่อสู้เพื่อเป้าหมายอันชอบธรรมเลย มหากาพย์มหาภารตะ ทั้งเล่มมีจุดใหญ่ใจกลางอยู่ที่การรบอันยิ่งใหญ่ คือ มหาภารตะยุทธ์
 โดยทั่วไปแล้วมโนคติอันเกี่ยวกับอหิงสา หรือหลักไม่เบียดเบียนกันนั้น ดูเหมือนจะมีความสัมพันธ์อย่างมากกับเจตนา อันหมายถึง ไม่มีจิตใจเคียดแค้น การมีสติสัมปชัญญะควบคุมตนเองได้ และการอดกลั้นต่อความโกรธ และความชิงชัง แทนที่จะหมายถึงเพียงการเลิกละหรือยับยั้งจากการกระทำอันรุนแรงใดๆ ในเมื่อการกระทำเช่นนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้

ศรีเนห์รู รัฐบุรุษ ผู้เป็นที่รักยิ่งของชาวอินเดียเกือบ 500 ล้านคน ได้เขียนพรรณนาคุณค่าของ มหากาพย์มหาภารตะ ต่อไปว่า
  มหากาพย์มหาภารตะ เป็นคลังพัสดุที่เราสามารถค้นหาสิ่งดีมีค่านานาประการได้อย่างครบถ้วน เป็นงานวรรณกรรมที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา หลากรสหลายชนิด และอุดมสมบูรณ์อย่างล้นเหลือ ซึ่งผิดแผกแตกต่างอย่างมากมาย กับอีกลักษณะหนึ่งในแนวความคิด ในยุคต่อมาของอินเดีย อันเป็นแนวความคิดที่ เน้นถึงความสำคัญของการบำเพ็ญพรตและการละเว้นจากโลกีย์วิสัย
 มหากาพย์มหาภารตะ มิใช่เป็นงานวรรณกรรมที่บรรจงแต่คำสอนในเรื่องอันเกี่ยวกับศีลธรรมเท่านั้น แม้ว่าจะมีเรื่องประเภทนี้อยู่ไม่น้อยก็ตาม สาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้ ได้สรุปเป็นใจความดังนี้ว่า
 จงอย่าทำสิ่งที่ท่านไม่อยากให้ผู้อื่นกระทำต่อท่าน เป็นที่น่าสังเกตว่า มหากาพย์โบราณชิ้นนี้ ได้เน้นหนักถึงเรื่อง สวัสดิภาพของสังคม ทั้งนี้ก็เพราะว่าจิตใจของชาวอินเดียนั้น มักจะมีผู้เข้าใจกันว่า มีความโน้มเอียงไปในทางหาความสมบูรณ์หรือสัมฤทธิ์ผลส่วนบุคคล แทนที่จะคำนึงถึงสวัสดิภาพของส่วนรวม มหากาพย์มหาภารตะสอนว่า
 สิ่งใดที่ไม่ก่อผลดีให้แก่สวัสดิภาพของสังคม หรือสิ่งใดที่สร้างความละอายใจให้แก่ท่าน สิ่งนั้นขอท่านจงอย่ากระทำเป็นอันขาด
นอกจากนี้มหากาพย์มหาภารตะยังได้สอนไว้อีกว่า
 การแสวงหาสัจธรรม การควบคุมตนเอง การปฏิบัติสมาธิภาวนา การบำเพ็ญทาน การไม่เบียดเบียนกัน การยึดมั่นในคุณธรรม เหล่านี้ต่างหากคือ หนทางไปสู่ความสำเร็จ หาใช่ชาติกำเนิดวรรณะหรือสกุลไม่
คุณธรรมเป็นสิ่งประเสริฐกว่าความไม่ตายและการมีชีวิต
ความสุขที่แท้จริงนั้น จะแยกออกเสียจากความทุกข์หาได้ไม่
ส่วนผู้ที่มุ่งแต่จะแสวงหาทรัพย์สมบัติเพียงอย่างเดียวในชีวิตนั้น
มหากาพย์มหาภารตะ ก็มีคำเหน็บแนมฝากเตือนใจไว้ว่า
ตัวไหมย่อมตายด้วยไหมของมันเอง
และท้ายที่สุด มหากาพย์มหาภารตะ มีคติพจน์ที่สะท้อนให้เห็นถึง จิตใจของชนชาติที่รักความก้าวหน้า และเต็มไปด้วยชีวิตชีวา คติพจน์นั่นก็คือ
 "ความไม่พอใจเป็นสิ่งที่กระตุ้นเตือนให้มนุษย์เราก้าวไปข้างหน้า
ท่านศรีเนห์รูได้กล่าวไว้ในหนังสือ The Discovery of India ของท่านค่ะ ขอขอบคุณแหล่งความรู้ดีดีจากหนังสือภารตวิทยาของ ท่านอาจารย์ กรุณา-เรืองอุไร- กุศลาสัย

 ขอขอบคุณข้อมูลจากอินเทอร์เนตนะคะ

รักในหลวง

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ขอแนะนำ หนังสือ ที่อธิบายคำศัพท์



6 ตุลา 2519

หวัดดีเราชื่อแนนนะ บล็อกเตงเป็นบล็อกการเมืองการปกครองอ่ะ สงสัยเรียนเอกคณะนี้แน่เลย อืมมม เราไม่ค่อยรูเรื่องนี้เลยง่ะ เรื่องการเมืองเราก็ไม่ควรพูดเน๊อะ อิอิ แต่อยากแนะนำให้ลองไปศึกษาเกี่ยวกับการรำลึกถึง6ตุลา2519 ดูนะ เราดูแล้วเซ็งๆอ่ะ ดูแล้วคิดเอาแล้วกัน ....

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โครงการหลวง

โครงการหลวง


ในหลวง - King of Thailand

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งกับผู้เข้าเฝ้าฯราวร้อยคน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานว่า โครงการหลวงเกิดขึ้นเพราะท่านไปเที่ยว คำว่า “ไปเที่ยว” นี้ เราท่านน่าจะว่า “ประพาสต้น” มากกว่า เพราะนอกจาก จะเป็นราชาศัพท์ที่ถูกต้อง แต่ออกจะไม่ใช้กันแล้ว ยังทำให้เราเห็นภาพ พระพุทธเจ้าหลวงเวลาเสด็จประพาสต้น ไปเที่ยวบ้านชาวบ้านโดยที่เขาไม่ทราบว่าท่านเป็นใครจึงไม่ประหม่ามาก คุยคล่องถึงการกินอยู่ ทำให้ท่านสามารถพระราชทานความช่วยเหลือได้ตามพระราชอัชฌาสัย

     ส่วนพระราชนัดดา คือ รัชกาลที่ 9 ของเรานี้ เมื่อทรงแปรพระราชฐานไปเชียงใหม่เพื่อทรงตากอากาศ จะเสด็จไปหน้าหนาวจึงเรียกว่าพักร้อนอย่างที่ใครๆ เขามักจะเรียกกันไม่ได้ นอกจากนี้ ท่านไม่ได้ทรงพักแต่มักจะเสด็จดั้นด้นไปทอดพระเนตรชีวิตของคนบนดอย ซึ่งสำหรับคนอื่นๆ ยังกับว่าอยู่คนละโลกกับเรา เช่นราว 30 ปีมาแล้วจะไปพระธาตุดอยสุเทพ มีถนนลูกรังที่รถยนต์ขึ้นได้แต่ลำบาก จากนั้น ถ้าจะไปบ้านแม้วดอยปุยก็ต้องเดินเอา นอกจากจะจ้างเสลี่ยงนั่งให้เขาหาบโยกเยกไป ในเมื่อระยะใกล้ๆ ต้องใช้เวลานาน เดินทางเช่นนี้ ดอยจึงพ้นหูพ้นตาของคนไทยส่วนมาก โดยเฉพาะพวกเกษตร เว้นแต่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประวัติ ความเป็นมา

     ชาวเขาในอดีตปลูกฝิ่นเป็นรายได้ก็เพราะไม่ทราบว่าจะปลูกพืชอื่นใดนอกจากฝิ่น ฝิ่นเป็นพืชทำเงินเพียงอย่างเดียวที่รู้จัก พืชอื่นๆ เช่น ข้าว ข้าวโพดฯลฯ นั้น ก็ปลูกเพื่อใช้รับประทานและเลี้ยงสัตว์

     โครงการหลวงได้นำพืชพรรณเข้ามาทำการทดลองบนที่สูงเป็นจำนวนมากมายหลายชนิด หลายพันธุ์ ได้รับความช่วยเหลือจากประเทศต่างๆ ซึ่งเข้าใจและเห็นใจในปัญหาที่เราประสบอยู่ เพราะปัญหาเรื่องฝิ่นนั้นมิใช่เป็นปัญหาของประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของโลก

     ผลการทดลองค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ในระยะแรก และมีอัตราความสำเร็จสูงขึ้นในเวลาต่อมา เมื่อนักวิชาการมีความเข้าใจสภาพภูมิอากาศดีขึ้น ผลการทดลองนี้ได้ถ่ายทอดไปสู่ชาวเขา เป็นการร่วมกันทดลองก่อนในระยะแรกแล้วจึงกลายมาเป็นอาชีพอย่างจริงจังในระยะหลัง ชาวเขาเริ่มมีความเชื่อมั่นที่จะปลูกผัก ปลูกดอกไม้ ปลูกผลไม้ เพื่อทำรายได้แทนฝิ่น และเมื่อเห็นว่าได้เงินมาจริงๆ ก็ค่อยๆ ลดการปลูกฝิ่นลงจนในที่สุดในหลายท้องที่ของโครงการหลวงฝิ่นดูจะกลายเป็นพืชที่หาดูได้ยากไปเสียแล้ว

     ในปัจจุบัน ผลไม้ ผัก ดอกไม้ และพืชเมืองหนาวต่างๆ มีจำหน่ายตลอดปี และเป็นที่รู้จักกัน อย่างแพร่หลาย ทั้งๆ ที่เมื่อไม่นานมานี้เอง เรายังต้องสั่งซื้อมาจากต่างประเทศ พื้นที่สูงกลับกลายเป็นพื้นที่พิเศษ เป็นพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน

โครงการหลวง (Royal project) 

     เป็นโครงการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ชาวเขา เพื่อเป็นการหารายได้ทดแทนการปลูกฝิ่น ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2512 โดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับผิดชอบในฐานะประธานมูลนิธิโครงการหลวง

     ในระยะแรก เป็นโครงการอาสาสมัคร โดยมีอาสาสมัคร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ และกองทัพอากาศ ปัจจุบันโครงการหลวง ดำเนินงานใน 4 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และแม่ฮ่องสอน มีสถานีวิจัยหลัก 6 สถานี และสถานีส่งเสริมปลูกพืชทดแทนฝิ่น เรียกว่า ศูนย์พัฒนาโครงการ จำนวน 21 ศูนย์ และหมู่บ้านพัฒนาอีก 6 หมู่บ้าน รวมหมู่บ้านในเขตปฏิบัติการทั้งสิ้น 267 หมู่บ้าน

     ผลผลิตจากโครงการหลวงในปัจจุบัน ประกอบด้วย ผักปลอดภัยสารพิษ สมุนไพร ถั่วและธัญพืช ผลไม้ เห็ด ดอกไม้เมืองหนาว ผลิตผลปศุสัตว์ ผลิตผลประมง ผลิตผลป่าไม้ ดอกไม้แห้ง ผลิตภัณฑ์จากแฝก ไม้กระถาง และผลิตภัณฑ์แปรรูปในชื่อการค้า ดอยคำ 

ที่มา : Panyathai.or.th