วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

องค์การบริหารส่วนตำบล

 องค์การบริหารส่วนตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลหรือ อบต. มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นระบบการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่เล็กที่สุดในประเทศไทย พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ฉบับที่  5  พ.ศ. 2546  กำหนดให้การบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วย  สภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
โครงสร้างของการจัดองค์การบริหารส่วนตำบล
 องค์การบริหารส่วนตำบลแบ่งโครงสร้างออกเป็น  2  ฝ่าย  คือ
 1.  สภาองค์การบริหารส่วนตำบล  ( ฝ่ายนิติบัญญัติ ) ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น หมู่บ้านละ
2  คน  ( ในกรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมี  1  หมู่บ้าน ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน  6  คน  ในกรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเพียง  2  หมู่บ้านให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  จำนวนหมู่บ้านละ  3  คน )
หน้าที่ของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่ ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาตำบล เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล พิจารณาและให้ความเห็นชอบข้อบังคับของตำบล ควบคุมการบริหารงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
2. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล  ( ฝ่ายบริหาร )  มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี  และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน  2  วาระไม่ได้   นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอาจแต่งตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งไม่ใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ช่วยในการบริหารราชการได้ไม่เกิน  2  คน  และคงแต่งตั้งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  1  คน  ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ  ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไม่อาจปฎิบัติหน้าที่ได้ ให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้รักษาราชการแทน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล 
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีจังหวัดละหนึ่งแห่ง ยกเว้นกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีเขตพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมทั้งจังหวัด จัดตั้งขึ้นเพื่อบริการสาธารณประโยชน์ในเขตจังหวัด ตลอดทั้งช่วยเหลือพัฒนางานของเทศบาลและ อบต. รวมทั้งการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อไม่ให้งานซ้ำซ้อน
              พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 บัญญัติไว้ว่า ในจังหวัดหนึ่งให้มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการส่วนท้องถิ่น เขตขององค์การบริหารส่วนจังหวัดคือเขตจังหวัด การจัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตจังหวัด และมีวาระการดำรงตำแหน่งครั้งละ 4 ปี มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งมาจากการเลือกตั้งกันเองของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สภาจังหวัด สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตจังหวัด ตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมีหลักเกณฑ์ว่า ให้ถือเอาจำนวนราษฎรในแต่ละจังหวัดตามข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งเป็นเกณฑ์ ดังนี้ 
1.   จังหวัดใดที่มีจำนวนราษฎรไม่เกิน 500,000 คน ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 24 คน 
2.  จังหวัดใดที่มีจำนวนราษฎรเกินกว่า 500,000 คน แต่ไม่ถึง 1,000,000 คน ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 30 คน 
3. จังหวัดใดที่มีจำนวนราษฎรเกินกว่า 1,000,000 คน แต่ไม่ถึง 1,500,000 คน ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 36 คน 
4. จังหวัดใดที่มีจำนวนราษฎรเกินกว่า 1,500,000 คน แต่ไม่ถึง 2,000,000 คน ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 42 คน 
5. จังหวัดใดที่มีจำนวนราษฎรเกินกว่า 2,000,000 คน ขึ้นไป ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 48 คน 
ในวันเริ่มสมัยประชุมประจำปีของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกประธานสภา 1 คน และรองประธานสภาจำนวน 2 คน และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีหน้าที่ดำเนินกิจการของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และดำเนินการประชุมให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ประธานสภาสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมอบหมายให้ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีสิทธิตั้งกระทู้ถามนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวข้องกับการบริหารราชการในส่วนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 
นอกจากนี้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สามารถเสนอข้อสอบถามต่อประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชี้แจงข้อเท็จจริงใด ๆ อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของราชการส่วนภูมิภาค และให้หัวหน้าหน่วยราชการอื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งมาปฏิบัติหน้าที่ในเขตจังหวัดชี้แจงข้อเท็จจริงใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ได้ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินกิจการใด ๆ ที่เป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามมติของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ เมื่อเริ่มประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 คน และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สามารถตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด จากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามเกณฑ์ ดังนี้ 
1. ถ้ามีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด  24  คนหรือ 30  คน ให้มีรองนายกองค์การ ฯ ได้ 2 คน 
2. ถ้ามีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด  36  คนหรือ 42  คน ให้มีรองนายกองค์การ ฯ ได้ 3 คน 
3. ถ้ามีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด  48  คน ให้มีรองนายกองค์การ ฯ ได้ 4 คน

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

สารคดีแผนลอบสังหารฮิตเลอร์ 2

สารคดีแผนลอบสังหารฮิตเลอร์ 1

พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองของไทย


พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
     การปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์  แบ่งกว้าง ๆ เป็น 2 ระยะ  คือ
          1.  สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์  ได้แก่
               ช่วงที่ 1  การปกครองสมัยรัชกาลที่ 1  ถึงต้นรัชกาลที่ 5  (ก่อนการปฏิรูปการปกครอง  พ.ศ. 2435)
               ช่วงที่ 2  การปกครองสมัดรัขกาลที่ 5  (หลังจากการปฏิรูปด้านการปกครอง)  ถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองในรัชกาลที่ 7
          2.  สมัยประชาธิปไตย  นับช่วงระยะเวลาตั้งแต่มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง  ในปี พ.ศ. 2475  จนถึงปัจจุบัน
     หากศึกษาในแง่ของการพัฒนาบ้านเมือง  และการรับวัฒนธรรมทางตะวันตกมาผสมผสานในการบริหารประเทศชาติแล้ว  สามารถศึกษาได้  ดังนี้
          (1)  การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น               สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  คือ  ช่วงเวลาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1  ถึง รัชกาลที่ 3  ซึ่งเป็นช่วงของการฟื้นฟูบูรณะบ้านเมืองให้กลับสหู่สภาพเดิม  เหมือนสมัยอยุธยาก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2  ซึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้มีการจัดการปกครองตามแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย  ดังนี้
               1.  การปกครองส่วนกลาง  (ราชธานี)  บริหารราชการแผ่นดินแบบจตุสดมภ์  มี 4 ตำแหน่ง  ดังนี้
                    -  กรมเวียง (นครบาล)  ปกครองดูแลประชาชนในเขตเมืองที่ตนรับผิดชอบ  ปราบปรามโจรผู้ร้าย  รักษาความสงบในเขตพระนคร
                    -  กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์)  ดูแลความเรียบร้อยและกิจการเกี่ยวกับพระราชสำนัก  พิจารณาคดีต่าง ๆ ที่มีฎีกาขึ้นสู่องค์พระมหากษัตริย์
                    -  กรมคลัง (โกษาธิบดี)  ดูแลรายได้ส่วนพระราชาทรัพย์และรายได้แผ่นดิน  เช่น  เก็บส่วย  ภาษี  อากร  ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
                    -  กรมนา (เกษตราธิการ)  จัดทำนาหลวง  ดูแลการทำไร่นาของราษฎร  จัดเก็บภาษีเป็นข้าว  เรียกว่า  เก็บหางข้าวไว้ใช้ในยามศึกสงคราม
               การบริหารราชการแผ่นดินนอกจากมีจตุสดมภ์แล้ว  ยังมีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง  คือ  สมุหพระกลาโหม  และสมุหนายก  เป็นการแบ่งข้าราชการเป็น 2 ฝ่าย  คือ  ฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน 
เรื่องเก่า - น่ารู้
     ตำนานสมุหพระกลาโหม  เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก  เพราะเป็นผู้ควบคุมกองทัพ  สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาก็เคยดำรงตำแหน่งนี้ในสมัยที่เป็นขุนนาง  ก่อนล้มราชวงศ์เดิมแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่
     ในสมัยรัตนโกสินทร์  ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม  เช่น
     -  สมเด็จพระเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ  บุนนาค)
     -  สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์  (ช่วง  บุนนาค)
     -  เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์  (วร  บุนนาค)
               2.  การปกครองส่วนภูมิภาค  (หัวเมืองภายในพระราชอาณาจักร)  มีการแบ่งการปกครองหัวเมืองออกเป็ 3 ส่วน  เหมือนสมัยอยุธยา
                    -  หัวเมืองชสั้นใน  เมืองที่อยู่รายรอบราชธานี  จัดเป็นเมืองจัตวา  มีหัวหน้าปกครอง  เรียกว่าผู้รั้งเมืองหรือจ่าเมือง
                    -  หัวเมืองชั้นนอก  เมืองพระยามหานคร  ได้แก่  เมืองซึ่งอยู่ห่างจากราชธานีออกไป  คือ  หัวเมืองชั้นเอก  ชั้นโท  ชั้นตรี  ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองหลวง  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์  หรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไปเป็นเจ้าเมืองปกครอง
                    -  หัวเมืองประเทศราช  เป็นเมืองชายแดนของต่างชาติ  ต่างภาษามีฐานะเป็นเมืองประเทศราช  เช่น  ญวน  เขมร  เวียงจันทน์  หลวงพระบาง  เป็นต้น  สำหรับเจ้าเมืองนั้นได้รับการแต่งตั้งจากเมืองหลวงเรียกว่า  เจ้าประเทศราช  ซึ่งอาจแต่งตั้งไปจากเมืองหลวงหรือเชื้อพระวงศ์ในหัวเมืองนั้น ๆ เอง  โดยให้สิทธิในการจัดการปกครองภายในแก่เจ้าประเทศราช  ยกเว้นหากเกิดความไม่สงบภายในทางเมืองหลวงอาจเข้าแทรกได้
          (2)  ยุคปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตก  (พ.ศ. 2394 - 2475)  จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่ 4)  จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7)  เป็นช่วงระยะเวลาของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง  และปฏิรูปบ้านเมือง  ให้พ้นจากเป็นอาณานิคมของตะวันตกที่กำลังขยายอำนาจ  และอิทธิพลเข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  แต่เนื่องด้วยพระมหากษัตริย์ไทย  ทรงมีพระปรีชาสามารถ  จึงสามารถดำรงเอกราชของประเทศไทยไว้ได้  ซึ่งเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่คงเอกราชไว้ได้  ซึ่งภารกิจในยุคปรับปรุงประเทศของพระมหากษัตริย์ไทย  มีตัวอย่างที่ควรทราบ  ดังนี้
               1.  สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่ 4)
                    พระองค์ยังคงทรงปกครองตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และคงรูปแบบการบริหารประเทศเหมือนเดิม  แต่พระองค์ได้พยายามพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมอารยประเทศ  โดยเปิดสัมพันธไมตรียอมรับวัฒนธรรมตะวันตก  อีกทั้งทรงเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกประเพณีบางอย่าง  เพื่อให้สอดคล้องวัฒนธรรมตะวันตกที่แพร่เข้ามาในประเทศ  เช่น
                    1.1  ยกเลิกประเพณีการหมอบคลานขณะเข้าเฝ้า  และการไม่สวมเสื้อขณะเข้าเฝ้า
                    1.2  ยกเลิกธรรมเนียมไทยแต่โบราณ  ที่ห้ามราษฎรแสดงตัวหรือแอบมองในเวลาเสด็จออกนอกพระราชวัง
                    1.3  โปรดให้ราษฎรหญิงชายเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดและยื่นฎีกาเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ได้
                    1.4  ให้ราษฎรไทยมีสิทธิเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้
                    1.5  นำชาวต่างชาติมาสอนหนังสือให้แก่พระราชโอรส  พระราชธิดา  ข้าราชการ  เพื่อให้มีความรู้วิทยาการต่าง ๆ เท่าทันประเทศตะวันตก
               2.  สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5)
                    พระองค์ได้เสด็จประพาสประเทศต่าง ๆในทวีปเอเชียและยุโรป  ได้เห็นความเจริญของประเทศต่าง ๆ  ซึ่งได้นำมาปฏิรูปการปกครอง  และการบริหารทุกด้าน  ตั้งแต่การปกครอง  การศึกษา  กฎหมาย  การศาล  การสาธารณสุข  การคมนาคม  เป็นต้น  งานที่สำคัญาในลำดับที่พระองค์เริ่มปฏิรูปก่อนงานอื่น ๆ คือ  งานด้านบริหาร  และงานด้านนิติบัญญัติ  โดยได้ทรงดำเนินการ  ดังนี้
                    2.1  การปกครองส่วนกลาง
                         (1)  จัดตั้งสภาที่รปรึกษาเพื่อเช่วยในการบริหารราชการแผ่นดิน  คือ  สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน  และสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์
                         (2)  ทรงประกาศเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์  เปลี่ยนการบริหารมาเป็นกระทรงต่าง ๆเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2435  โดยจัดแบ่งอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวงอย่างชัดเจน  ไม่ซ้ำซ้อนกัน
               ปัจจุบันประเทศไทยแบ่งการปกครองส่วนกลางออกเป็น 19 กระทรวง
               1.  กลาโหม                         2.  การคลัง                           3.  คมนาคม
               4.  ต่างประเทศ                     5.  พาณิชย์                           6.  มหาดไทย
               7.  ศึกษาธิการ                      8.  สาธารณสุข                       9.  อุตสาหกรรม
               10.  ยุติธรรม                        11.  วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
               12.  เกษตรและสหกรณ์           13.  แรงงานและสวัสดิการสังคม    14.  การท่องเที่ยวและกีฬา
               15.  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม                                   16.  วัฒนธรรม
               17.  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร                                18.  พลังงาน
               19.  การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                    2.2  การปกครองส่วนภูมิภาค
                         มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบหัวเมืองมาเป็นแบบเทศาภิบาล  โดยรวมหัวเมืองหลายเมืองเข้ามาเป็นมณฑล  แต่ละมณฑลมีสมุหเทศาภืบาลเป็นผู้ปกครอง  ซึ่งขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย  ทั้งนี้แต่ละเมืองยังแบ่งเขตการปกครองเป็นอำเภอ  ตำบล  หมู่บ้าน
                    2.3  การปกครองส่วนท้องถิ่น
                         พระองค์ได้ทรงส่งเสริมและทดลองให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น  โดยทรงริเริ่มจัดการสุขาภิบาลในเขตกรุงเทพ ฯ  และตำบลท่าฉลอม  เมืองสมุทรสาคร  โดยทรงริเริ่มให้ราษฎรเลือกผู้ใหญ่บ้านเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2435  แล้วให้ผู้ใหญ่บ้านเลือกกำนัน  โดยเริ่มที่อำเภอบางปะอิน  เมืองพระนครศรีอยุธยา
                         จะเห็นได้ว่า  การปฏิรูปการปกครองนี้  เป็นการรวมอำนาจการปกครองมาไว้ที่ส่วนกลางอย่างมีระบบ  ทำให้พระมหากษัตริย์ไทยมีอำนาจการปกครองประเทศอย่างมาก
                         การปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในปัจจุบัน  เช่น  องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)  องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)  เทศบาล  เมืองพัทยา  และกรุงเทพมหานคร  เป็นต้น  ซึ่งประชาชนมีสิทธิเลือกผู้บริหารได้โดยตรง  นับเป็นประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก
               3.  สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 6)
                    พระองค์ทรงโปรดให้รวมมณฑลหลาย ๆ มณฑลเข้าเป็นแต่ละภาคมีอุปราชปกครอง  ตำแหน่งอุปราชและสมุหเทศาภิบาลขึ้นตรงต่อพระองค์  ส่วนกรุงเทพ ฯ นั้น  มีฐานะเหมือนกับมณฑลหนึ่ง  โดยมีสมุหพระนครบาลปกครองขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย  พระองค์โปรด ฯ ให้เรียกชื่อ  "จังหวัด"  แทนคำว่า  "เมือง"  และทรงขยายมณฑลเพิ่มเติมอีก
                    นอกจากนี้  พระองค์โปรด ฯ  ให้จัดตั้ง  "ดุสิตธานี"  ขึ้นในบริเวณเขตพระราชวังดุสิต  เพื่อทดลองสร้างเมืองจำลองการปกครองแบบประชาธิปไตย
               4.  สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่ 7)
                    พระองค์ทรงมีพระดำริพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน  แต่ได้มีกลุ่มผู้มีความคิดก้าวหน้าในนามของ "คณะราษฎร"  ซึ่งมีพระยาพหลพยุหเสนา  เป็นผู้ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24  มิถุนายน พ.ศ. 2475
                    รัชกาลที่ 7  ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475  เป็นอันสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

การปกครองสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี

สมัยกรุงธนบุรี.
          การปกครองในสมัยกรุงธนบุรียังคงมีรูปแบบเหมือนกับสมัยอยุธยาตอนปลาย พอสรุปได้ดังนี้
          การปกครองส่วนกลาง หรือ การปกครองในราชธานี พระมหากษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดเปรียบเสมือนสมมุติเทพ มีเจ้าฟ้าอินทรพิทักษ์ดำรงดำแหน่งพระมหาอุปราช มีตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารหรือสมุหพระกลาโหม มียศเป็นเจ้าพระยามหาเสนา และอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนหรือสมุหนายก(มหาไทย) มียศเป็นเจ้าพระยาจักรี เป็นหัวหน้าบังคับบัญชาเสนาบดีจตุสดมภ์ 4 กรมได้แก่
          1. กรมเมือง (นครบาล) มีพระยายมราชเป็นผู้บังคับบัญชา ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองภายในเขตราชธานี การบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรและการปราบโจรผู้ร้าย
          2. กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์)  มีพระยาธรรมาเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจการภายในราชสำนักและพิพากษาอรรถคดี
          3. กรมพระคลัง (โกษาธิบดี)  มีพระยาโกษาธดีเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน และติดต่อ ทำการค้ากับต่างประเทศ 
          4. กรมนา (เกษตราธิการ) มีพระยาพลเทพเป็นผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่เกี่ยวกับเรือกสวนไร่นาและเสบียงอาหารตลอดจน ดูแลที่นาหลวง เก็บภาษีค่านา เก็บข้าวขึ้นฉางหลวงและพิจารณาคดีความเกี่ยวกับเรื่องโค กระบือ และที่นา
การปกครองส่วนภูมิภาค หรือ การปกครองหัวเมือง

การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช

          หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา มีขุนนางชั้นผู้น้อยเป็นผู้ดูแลเมือง ไม่มีเจ้าเมือง ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง อำนาจในการปกครองขึ้นอยู่กับเสนาบดีจัตุสดมภ์ หัวเมืองชั้นในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ พระประแดง นนทบุรี สามโคก(ปทุมธานี)
          หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่นอกเขตราชธานีออกไป กำหนดฐานะเป็นเมืองระดับชั้น เอก โท ตรี จัตวา ตามลำดับ หัวเมืองฝ่ายเหนือขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดีฝ่ายสมุหนายก ส่วนหัวเมืองฝ่ายใต้และหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ขึ้นอยู่กับกรมท่า(กรมพระคลัง) ถ้าเป็นเมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์ จะส่งขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ออกไปเป็นเจ้าเมือง ทำหน้าที่ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ

          หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นเอก ได้แก่ พิษณุโลก จันทบูรณ์
          หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นโท   ได้แก่ สวรรคโลก ระยอง เพชรบูรณ์
          หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นตรี   ได้แก่ พิจิตร นครสวรรค์
          หัวเมืองชั้นนอก ในสมัยกรุงธนบุรี ระดับเมืองชั้นจัตวาได้แก่ ไชยบาดาล ชลบุรี

หัวเมืองประเทศราช

          เป็นเมืองต่างชาติต่างภาษาที่อยู่ห่างไกลออกไปติดชายแดนประเทศอื่น มีกษัตริย์ปกครอง แต่ต้องได้รับการแต่งตั้งจากกรุงธนบุรี ประเทศเหล่านั้น ประมุขของแต่ละประเทศจัดการปกครองกันเอง แต่ต้องส่งต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการมาให้ตามที่กำหนด
          หัวเมืองประเทศราช ในสมัยกรุงธนบุรี ได้แก่ เชียงใหม่ (ล้านนาไทย) ลาว (หลวงพระบาง,เวียงจันทน์, จำปาศักดิ์) กัมพูุชา (เขมร) และนครศรีธรรมราช

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

ปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม


ปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม







ปรีดี พนมยงค์ หรือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม ชาตะเมื่อ 11 พฤษภาคม 2443 และอสัญกรรมเมื่อ 2 พฤษภาคม 2526 ศึกษาจบมัธยม 6 จากโรงเรียนตัว อย่างมลฑลกรุงเก่า แล้วเข้าศึกษาโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมในปี 2460 สอบไล่วิชากฎหมายชั้นเนติบัณฑิต เมื่อปี 2462 อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ระหว่างปี 2463-2469 ได้รับทุนไปศึกษาวิชากฎหมาย ณ ประเทศฝรั่งเศส จนได้ปริญญารัฐเป็น “ดุษฎีบัณฑิตกฎหมาย” (Docteur en Droit) ฝ่ายนิติศาสตร์ (Sciences Juridiques) และได้ประกาศนียบัตรการศึกษาขั้นสูงทางเศรษฐกิจ (Diplome d’Etudes Superieures d’ Economie Politique)
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ท่านปรีดีได้ร่วมกับข้าราชการทหารและพลเรือนจำนวน 100 กว่านายในนามของ “คณะราษฎร” ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณา-สิทธิราช มาเป็นระบอบพระมหากษัตริย์โดยรัฐธรรมนูญ หลังจากนั้นได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (คนแรก) เป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เป็นผู้เสนอ “เค้าโครงการเศรษฐกิจ” เป็นรัฐมนตรีมหาดไทย การต่างประเทศ การคลัง และในระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นหัวหน้าขบวนการใต้ดิน “เสรีไทย” เพื่อรักษา เอกราชและอธิปไตยของประเทศ ได้รับแต่งตั้งเป็น “รัฐบุรุษอาวุโส” และเป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังวิกฤตการเมือง
2490-2492 ท่านปรีดีได้ลี้ภัยการเมืองไปพำนักอยู่ประเทศจีน และในปี 2513 ได้ย้ายไปพำนักอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศส จนกระทั่งถึงอสัญกรรมเมื่อปี 2526
ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทยเมื่อปี 2476-2477 นั้น ท่านได้ดำเนินการก่อตั้งมหาวิทยาลัย “ตลาดวิชา” แห่งแรกของสยาม คือ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งมีลักษณะ “พิเศษ” เกี่ยวพันกับการเมืองและความเป็นไปของชาติ ตลอดจนเรื่องของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย ดังนั้นในบทความนี้ประสงค์ที่จะชี้ให้เห็นจุดกำเนิดและวิวัฒนาการเริ่มแรกของ มธก. อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะวางแนวทางของมหาวิทยาลัยสืบต่อมา
เมื่อต้นปี 2526 อาจารย์และนักวิจัยธรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ดำริที่จะทำงานวิชาการเรื่อง “ประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์” ผมซึ่งสมัยนั้นดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถาบันไทยคดีศึกษา (ซึ่งมี ศ. เสน่ห์ จามริก เป็นผู้อำนวยการ) และดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี (ฝ่ายวัฒนธรรม เฉลิมฉลองธรรมศาสตร์ 50 ปี ซึ่งมี ศ. นงเยาว์ ชัยเสรี เป็นอธิการบดี) ในฐานะหัวหน้าทีมวิจัย ได้ติดต่อกับท่านผู้ประศาสน์การปรีดี พนมยงค์ ณ กรุงปารีส เพื่อขอเข้าสัมภาษณ์จากท่านโดยตรง ท่านได้มีจดหมายนัดแนะอย่างเป็นทางการว่าให้ไปพบได้ในวันที่ 7 และ 9 พฤษภาคม พร้อมทั้งให้การบ้านแก่ผม ให้เตรียมตัวศึกษาไว้ก่อนล่วงหน้า คือ ท่านบอกว่าควรดู
ของท่านเกี่ยวกับเรื่องของธรรมศาสตร์ ซึ่งท่านเคยให้ไว้ในสมัย ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นอธิการบดี (30 มกราคม 2518 ถึง 6 ตุลาคม 2519)
นอกจากนั้นก็ให้หาประวัติเกี่ยวกับการซื้อโอนที่ดินที่ท่าพระจันทร์
ให้ดูหลักสูตรของ มธก. หลักสูตรปริญญาตรี โท และเอก
ให้ดูหลักสูตร ตมธก.
แต่ก็อย่างที่เราทราบกันดีว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 นั้น ท่านปรีดี พนมยงค์ ก็ถึงอสัญกรรมก่อนหน้าวันนัดหมายที่ผมจะไปพบท่านเพียงไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ แทนที่จะได้ไปสัมภาษณ์เพื่อเขียนงานประวัติศาสตร์ ผมก็กลับกลายเป็นไปงานฌาปนกิจศพของท่านที่ทำกันอย่างเรียบง่ายและสมเกียรติที่กรุงปารีส ท่านกลายเป็นหนึ่งใน “แต่คนดี เมืองไทยไม่ต้องการ” ที่ต้องลี้ภัยการเมืองและอำนาจมืดของรัฐและจบชีวิตในต่างแดน เหมือน ๆ อย่างที่ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ก็ต้องประสบในอีก 16 ปีต่อมา ผมต้องขอขอบคุณสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไว้ ณ ที่นี้ด้วย ที่ให้กู้เงินเป็นค่าเครื่องบินเดินทางและค่าใช้จ่ายในการไปร่วมงานศพครั้งนี้ ผมได้กลายเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยไปโดยมิได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการแต่ประการใด
จากการบ้านข้างต้นที่ท่านผู้ประศาสน์การปรีดีได้ให้ไว้แก่ผม ก็อาจถือเป็นแนวทางในการสืบเสาะประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็น “มหาวิทยาลัยของสามัญชนที่ไม่สามัญ” ผมจะขอจำกัดเรื่องราวเพียงช่วงระยะจากปี 2477 ซึ่งเป็นปีของการสถาปนา มธก. ไปจนกระทั่งถึงช่วงประมาณปี 2490-2492 ซึ่งเป็นช่วงของรัฐประหาร 2490 และสิ่งที่เรียกกันว่า “กบฎวังหลวง 2492” หรือที่ท่านปรีดีเองเรียกว่า “ขบวนการประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์ 2492” ซึ่งเป็นความพยายามจะยึดอำนาจคืนจากคณะรัฐประหาร 2490 นำประเทศกลับไปสู่ประชาธิปไตยอีกครั้งหนึ่งนั้น เป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่มีระยะเวลาเพียง 15 ปีเท่านั้น ช่วงนี้เป็นช่วงที่ท่านปรีดีเกี่ยวข้องและผูกพันกับมหาวิทยาลัยโดยตรง
หลังจากนั้นแล้วเมื่อบ้านเมืองขาดประชาธิปไตย ระบอบอำนาจนิยมเข้าครอง มหาวิทยาลัยก็เปลี่ยนแปลงไป แม้แต่ชื่อเดิมก็ถูกตัด คำว่า “วิชา” และ “การเมือง” ออก ฝ่ายอำนาจนิยมผลัดเวียนกันเข้ามา “รักษาการ” อย่างเช่นหลวงวิจิตรวาทการ (2493-2494) พลโท สวัสดิ ส. สวัสดิเกียรติ (2494-2495) ในฐานะตัวแทนคณะรัฐประหาร และท้ายที่สุดตำแหน่งผู้ประศาสน์การก็ถูกยุบ กลายเป็นตำแหน่งอธิการบดีที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เข้ามาดำรงอยู่เมื่อ 2495-2500 หรือจอมพล ถนอม กิตติขจร ก็ยังเข้ามาดำรงตำแหน่งนี้ระหว่าง 2503-2506 ดังนั้นท่านปรีดี พนมยงค์ ก็เป็นผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยแต่เพียงผู้เดียว และไม่เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีเหมือนอย่างบุคคลอื่นๆ
ในช่วงระยะเวลา 15 ปีแรกของ มธก. นั้น ประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับ ท่านปรีดีอาจแบ่งได้เป็นสามหัวข้อ และขอบรรยายตามลำดับ ดังนี้
ปรัชญาในการสถาปนามหาวิทยาลัย
การบริหาร การเรียน และการสอน (ธ.บ. และ ตมธก.)
ชีวิตและวิญญาณของธรรมศาสตร์
ปรัชญาของการสถาปนามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
หากจะเท้าความย้อนกลับไปในอดีตให้ไกล หรือพยายามหาความต่อเนื่องตามประเพณีของศาสตร์ว่าด้วยประวัติ และสิ่งที่นักประวัติศาสตร์มักจะชอบทำกัน (ประเภทจากภูเขาอัลไตถึงอาณาจักรน่านเจ้า เรื่อยมาถึงสุโขทัย อยุธยา แล้วก็รัตนโกสินทร์) ละก็ เรามักจะได้ยินกันว่า ธรรมศาสตร์เป็นสถาบันที่สืบเนื่องมาจากโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม โรงเรียน กฏหมายมีกำเนิดควบคู่กับโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ซึ่งก็เกิดในยุคสมัยเดียวกันกับโรงเรียนนายร้อยทหารบก (จปร.) และโรงเรียนนายเรือ โรงเรียนกฎหมายนั้นตั้งในปี 2440 ส่วนโรงเรียนข้าราชการพลเรือนตั้งในปี 2442 ทั้งสองสถาบันเป็นหลักในการปฏิรูปการศึกษา “ด้านพลเรือน”Ž โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ได้รับการยกสถานะขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสมัยรัชกาลที่ 6 พ.ศ. 2459 ส่วนโรงเรียนกฎหมายก็ยังดำรงสถานะเดิมอยู่เรื่อยมา กว่าจะได้รับการยกฐานะก็อีกเกือบสองทศวรรษให้หลัง (แต่ก็ต้องถูกยุบไปรวมกับจุฬาฯ ในระยะเวลาสั้น ๆ อยู่หนึ่งปี เมื่อ 2476)
นั่นเป็นสิ่งที่เราอาจเรียกได้ว่าเป็นความต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์ จากโรงเรียนกฎหมาย กลายเป็น มธก. แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้ว มธก. ก็ถือได้ว่าเป็นทั้ง “ความแปลก” และ “ความใหม่” ของการศึกษาสยาม/ไทย ทั้งนี้หากจะพูดให้ตรงแล้ว มธก. ถือได้ว่าเป็นผลพวงหรือ “คู่แฝด” ของการปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475 อย่างไม่ต้องสงสัย หากไม่มี 24 มิถุนายน 2475 ก็อาจจะไม่มี (วันสถาปนา มธก.) 27 มิถุนายน 2477 ถ้าหากเราจะดูจาก “คำประกาศของคณะราษฎร” ในวันยึดอำนาจได้กล่าวว่าการที่ “ราษฎร” ยังถูกดูหมิ่นว่ายังโง่อยู่ (ไม่พร้อมกับระบอบประชาธิปไตย) นั้น “เป็นเพราะขาดการศึกษาที่เจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่” ดังนั้นในนโยบายหรือสิ่งที่เรียกว่า “หลัก 6 ประการ” ของคณะราษฎร ก็มีข้อหนึ่งที่ว่า “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร” มีผลทำให้ต้องตั้ง มธก. ขึ้นมานั่นเอง
เมื่อมองในแง่นี้ การสถาปนา มธก. ในปี 2477 ก็มากับหลักประการที่ 6 ของคณะราษฎร กำเนิดมาควบคู่กับการปกครองในลักษณะใหม่ เมื่อประเทศมีรัฐธรรมนูญ มีประชาธิปไตย ก็ต้องมีสถาบันการศึกษาแบบใหม่ อันนี้จึงเป็นหลักปรัชญาพื้นฐานในการก่อตั้งเป็นหลักของการเปิดกว้างให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ทำให้เกิดกฎเกณฑ์ที่แน่นอน การเปิดและกฎเกณฑ์ที่แน่นอนนี้เป็นลักษณะที่สำคัญที่สุดลักษณะหนึ่งของสังคมประชาธิปไตย ในทางตรงกันข้าม การปิดเป็นความเลวร้ายของอำนาจนิยมและเผด็จการ
ในแง่ของการเปิดและการมีเสรีภาพนั้น อยากนำความรู้สึกของ “ธรรมศาสตร์บัณฑิตหญิงคนแรก” ที่ให้สัมภาษณ์ไว้ (2526) คือคุณหญิงบรรเลง ชัยนาม เมื่อถามท่านว่าประทับใจ อย่างไรบ้างเมื่อเข้ามาเรียนธรรมศาสตร์ตอนนั้น และจบเป็น ธ.บ. หญิงคนแรก เมื่อ 2478 ท่านตอบว่า
เอ ตอบยาก อาจจะประทับใจความมีเสรีภาพในการเล่าเรียน เป็นตลาดวิชาแล้วก็ให้เสรีภาพเสมอภาคกัน ให้เรียนวิชาต่างๆ ที่อยากรู้ ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะอะไรอย่างนี้ เข้าไปแล้วรู้สึกสบายใจ อย่างบางโรงเรียนก็อาจมีเข้าไปแล้วแบ่งพรรคแบ่งพวก แต่ธรรมศาสตร์ให้ความเสมอภาคกันหมด สบายใจ วิชาที่เรียนเป็นวิชาที่รักแลสนใจถ้าเราจะดูจากคำกล่าวของท่านผู้ประศาสน์การปรีดี พนมยงค์ ที่กล่าวในวันที่ 27 มิถุนายน 2477 อันเป็นวันสถาปนา มธก. ณ ที่ตั้งเก่าของโรงเรียนกฎหมาย (ถนนราชดำเนิน เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา ซึ่ง มธก. ตั้งอยู่ ณ ที่นั่นสองปี คือ ปี 2477-2479 ก่อนจะย้ายมาซื้อที่ดินได้ที่วังหน้า ท่าพระจันทร์ ตึกเก่าจึงกลายเป็นกรมโฆษณาการและกรมประชาสัมพันธ์ไปในที่สุด และถูกประชาชนเผาเสียราบเมื่อเหตุการณ์พฤษภามหาโหด 2535) นั้น ท่านได้กล่าวไว้ว่า
การตั้งสถานศึกษาตามลักษณะของมหาวิทยาลัยย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ และเป็นปัจจัยในการแสดงความก้าวหน้าของประเทศ ประชาชนชาวสยามจะเจริญในอารยธรรมได้ก็โดยอาศัยการศึกษาอันดีตั้งแต่ชั้นต่ำตลอดจนการศึกษาชั้นสูง เพราะฉะนั้นการที่จะอำนวยความประสงค์และประโยชน์ของราษฎรในสมัยนี้ จึงจำต้องมีสถานการศึกษาให้ครบบริบูรณ์ทุกชั้น
ท่านพูดต่อไปอีกว่า
มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำบำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรเห็นความจำเป็นในข้อนี้ จึงได้ตราพระราชบัญญัติ จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น
นอกจากนี้ อาจกล่าวได้ว่ากำเนิดของ มธก. มีผลมาจากแรงผลักดันของอดีตนักเรียน โรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม กล่าวคือในปี 2476 สมัยรัฐบาลอนุรักษนิยมช่วงเปลี่ยน ผ่านของนายกรัฐมนตรีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) โรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมได้ถูกโอนไปขึ้นกับคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่หนึ่งปี ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่นักเรียนโรงเรียนกฎหมาย ที่โรงเรียนอันเก่าแก่ และมีชื่อเสียงของตนเสมือนถูกยุบให้ละลายหายไป แทนที่จะได้เลื่อนสถานะเป็นมหาวิทยาลัย จึงมีผลผลักดันให้นักเรียนกฎหมายดังกล่าวเคลื่อนไหวให้มีการก่อตั้ง มธก. ขึ้น
ในเรื่องนี้มีบันทึกชิ้นหนึ่งที่สะท้อนกระแสและพลังของนักเรียนกฎหมายในตอนนั้นเป็นอย่างดี คือ บันทึกของคุณสงัด ศรีวณิก (ธรรมศาสตร์บัณฑิต ปี 2481) คุณสงัด ศรีวณิก บันทึกไว้ในหัวข้อ “โดมรำลึก” ว่า
ครั้นภายหลังเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อมิถุนายน 2475 แล้ว พวกเราประมาณ 4-5 คน ซึ่งเป็นนักเรียนกฎหมายอยู่ในเวลานั้น ได้ไปเยี่ยมท่านอาจารย์หลวงประดิษฐ์ฯ เพิ่งหายจากการป่วยไข้หวัด เราได้สนทนาและปรารภกันถึงฐานะของโรงเรียนกฎหมายซึ่งถือว่าเป็นการศึกษาชั้นสูง ควรจะได้รับการสถาปนาให้เป็นมหาวิทยาลัยบ้างหรือไม่ เพราะในขณะนั้นก็มีสถาบันชั้นอุดมศึกษาเป็นมหาวิทยาลัยก็มีเพียงแต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแต่เพียงแห่งเดียว
กล่าวโดยย่อ มธก. ก็เป็นผลพวงของการปฏิวัติ 2475 ที่บรรจบพอดีกับกระแสของ นักเรียนโรงเรียนกฎหมายที่ต้องการผลักดันยกฐานะของโรงเรียนของตนให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มี ลักษณะเปิดกว้าง เป็น “ตลาดวิชา” ที่น่าสนใจก็คือ ทันทีที่เปิดมหาวิทยาลัยในปี 2477 นั้น มีคนสมัครเข้าเรียนเป็นจำนวนมากมายมหาศาลและล้นหลามถึง 7,094 คน (แน่นอน ส่วนหนึ่งคือผู้ที่โอนมาจากคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ จุฬาฯ หรือนักเรียนโรงเรียนกฏหมายเก่านั่นเอง) แต่ส่วนใหญ่ก็คือผู้ที่จบมัธยมบริบูรณ์ (มัธยม 8 ในสมัยนั้น) ซึ่งสามารถสมัครเข้าได้ทันที อันนี้ไม่ประหลาดอะไรเพราะ มธก. เป็นตลาดวิชา แต่ถ้าเราดูไปแล้ว คนที่สามารถสมัครเข้าได้นั้น จะรวมถึงข้าราชการตั้งแต่เสมียนขึ้นไป (ถ้าผู้บังคับบัญชารับรอง) ซึ่งก็เกิดการกระจายของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอย่างไม่เคยมีมาก่อนเปิดกว้างมาก นอกจากนี้ผู้ที่สมัครเข้าได้ทันทีอีกพวกหนึ่ง ก็คือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (รุ่นแรกจากการเลือกตั้ง 2476) ผู้แทนตำบล เป็นต้น
จำนวนผู้สมัคร 7,094 นั้น ชี้ให้เราเห็นถึงความต้องการการศึกษาในระดับสูงมาก กล่าวได้ว่าในทศวรรษ 2470 นั้นมีคนจำนวนหนึ่งรอจะเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาค่อนข้างหนาแน่น แต่หลังจากนั้นจนถึงประมาณปี 2490 นักศึกษาที่สมัครเข้า มธก. จะมีจำนวนคงที่และปานกลาง คือ เพียงประมาณ 500 คนต่อปี อนึ่งถ้าเราดูจากคนที่สมัครเข้ามาใน มธก. เราอาจพูดได้ว่าส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลาง หรือกระฎุมพีในเมือง หรือใช้ศัพท์ของท่านปรีดี พนมยงค์ ก็บอกได้ว่าเป็น “ชาวบุรี” สะท้อนให้เห็นคลื่นหรือแรงผลักดันในการที่มีความต้องการการศึกษาของคนชั้นกลางในเมือง ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าชะงักงันหรือรอมาเป็นเวลานาน แล้วก็สบโอกาสในการเลื่อนสถานภาพของตนที่มาพร้อมกับหลักประการที่ 6 ของคณะราษฎร
ขอแทรกตรงนี้หน่อยว่า ช่วงปี 2475-2477 นั้น ประเทศสยาม (ยังไม่ได้เปลี่ยนชื่อทางการเป็นประเทศไทยจนกระทั่ง 2482) มีประชากร 12 ล้านคน มีนักเรียนระดับประถมและมัธยม 794,602 คน (ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด ในจำนวนนี้มีนักเรียนเตรียมอุดมศึกษา (มัธยมปลาย ม. 7-8 เดิม) เพียง 2,206 คน ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่ต่ำมาก สมัยนั้นกรุงเทพมหานครมีประชากรเพียง 5 แสนคน ในปี 2475 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพียงแห่ง เดียวมีผู้จบการศึกษาเพียง 68 คน ฉะนั้นทันทีที่เปิด มธก. จึงมีนักศึกษาถึง 7,094 คน เป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญมากของการศึกษาไทย
นอกเหนือจากปรัชญาในการก่อตั้งในแง่ของประชาธิปไตยแล้ว ยังเห็นว่ามีปรัชญาที่เน้น ในเรื่องของกฎหมายหรือ “หลักนิติธรรม” rule of law อีกด้วย ทั้งนี้เพราะการปฏิวัติ 2475 ต้องการสถาปนากฎหมายหรือรัฐธรรมนูญเป็นหลักอยู่เหนือบุคคล แน่นอน มธก. มาจากโรงเรียนกฎหมาย การศึกษาเน้นหนักด้านกฎหมายจึงไม่ประหลาดอะไรนัก แต่เดิมมีหลักสูตรสองปีระดับประกาศนียบัตร เมื่อเกิด มธก. เปลี่ยนเป็นระดับปริญญา มีหลักสูตรสามปี มีหกภาคการศึกษา ลักษณะของธรรมศาสตร์ในตอนนี้ยังเน้นด้านกฎหมายอย่างมาก เพราะเป็นมรดกตกทอดมาจากโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม
การตั้งสถาบันการศึกษาของไทยในระยะเริ่มแรก เป็นเรื่องของหน่วยราชการที่จะสร้างคนของตนขึ้นมาใหม่เพื่อป้อนหน่วยงานของตนเอง มีลักษณะเป็นสายวิชาชีพนั้น ๆ โดยเฉพาะ อย่างด้านการปกครองก็เป็นโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ด้านการเกษตรก็เป็นโรงเรียนด้านการเกษตร (ที่จะกลายมาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ด้านศิลปะก็เป็นโรงเรียนประเภทช่างศิลป์ (ที่กลายมาเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร) ด้านแพทย์ก็เป็นโรงเรียนแพทย์ (ที่กลายเป็นมหาวิทยาลัยมหิดล) ฯลฯ รวมไปถึงบรรดาโรงเรียนทหารบก-เรือ-อากาศ-ตำรวจทั้งหลาย มธก. ก็มีลักษณะกลายพันธุ์มาดังนี้ แต่ก็จะมีลักษณะกลายพันธุ์ที่แปลกและใหม่เช่นกัน
เมื่อดูจากวิชาที่เรียนกันใน มธก. มีการเรียนวิชาธรรมศาสตร์ในความหมายของกฎหมายทั่วไป เน้นในการเรียนกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา ซึ่งเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่และสำคัญในเมืองไทยยุคของการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเก่าก่อนสมัยใหม่ (pre-modern) สู่สมัยใหม่ เข้าใจว่าท่านที่ศึกษาและคุ้นเคยกับเรื่องความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือในสมัยรัชกาลที่ 4, 5, 6 คงจะเห็นได้ว่า สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาอย่างมากของสังคมไทยในการปรับตัวเข้าสู่ความเป็นสังคมสมัยใหม่ คือกฎหมายที่วิธีพิจารณาความยังเป็นแบบสังคมศักดินาอยู่ คือ พิสูจน์ด้วยการดำน้ำ ลุยไฟ ตลอดจนวิธีการจองจำ หรือการไต่สวนอย่างทรมานทรกรรม ดังนั้นหากจะได้รับการยอมรับว่าเป็น “อารยะ” เท่าเทียมกับนานาประเทศจะต้องมีการร่างพระราชบัญญัติหรือกฎหมายต่างๆขึ้นมาใหม่ ใช้แทนกฎหมายเก่าที่เรามีอยู่ทั้งหมด
ดังนั้น ลักษณะของการเรียนที่ธรรมศาสตร์ก็เน้นเรื่องกฎหมายอย่างที่กล่าวมาแล้ว มีการเรียนกฎหมายทั่วไป กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา แต่ที่ใหม่เข้ามาตอนนั้นก็คือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ แน่นอนเมื่อธรรมศาสตร์เกิดมาหลัง 2475 กฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งแต่เดิมต้องแอบแฝงอยู่ในกฎหมายปกครองในสมัยราชาธิปไตย ก็สามารถปราฏตัวออกเป็นวิชาอิสระของตัวเองได้ ไม่ต้องแอบอิงอยู่กับกฎหมายปกครองอีกต่อไป นอกจากนี้ก็ยังมีการศึกษาวิชาต่างๆนอกเหนือจากกฎหมายอีก วิชาเหล่านี้เป็นวิชาต้องห้ามไม่มีการสอนในสมัยราชาธิปไตย เช่น วิชาลัทธิเศรษฐกิจ วิชาเศรษฐศาสตร์ สรุปแล้วการศึกษาเน้นที่กฎหมายก็จริง แต่การศึกษาจะกว้างขวางกว่าเดิมมีวิชาอื่นๆที่ต้องห้ามประกอบด้วย

หลักสูตรปริญญาตรีของธรรมศาสตร์นั้นมีปริญญาเดียว คือ ธรรมศาสตร์บัณฑิต เมื่อวันเปิดมหาวิทยาลัย คือ วันที่ 27 มิถุนายน 2477 นั้น มีสูจิบัตรแจก เป็นสูจิบัตรพิมพ์ที่โรงพิมพ์ศรีกรุงชื่อว่า “แนวการศึกษาชั้นปริญญาตรี โท และเอก แห่งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” (ดูเอกสารดังกล่าวที่ตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์ศรีกรุง และนำมาพิมพ์ซ้ำในธรรมศาสตร์ 50 ปี)
หมายความว่าเมื่อเปิดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้นมีโครงการถึงปริญญาเอก แล้วก็ ดำเนินการไปเลย ในปริญญาตรีอย่างที่เราทราบกันมีปริญญาเดียว คือธรรมศาสตร์บัณฑิต (ธ.บ.) ปริญญาโทแตกออกไปเป็น นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ (ส่วนทางด้านการบัญชีนั้นต่อมาจะมีประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการบัญชี เทียบเท่าปริญญาโท) ในระดับปริญญาเอกก็มีสี่แขนงเช่นเดียวกัน คือ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และการทูต ในระดับปริญญาตรีและโทนั้นมีการเรียนการสอน ส่วนในระดับปริญญาเอกไม่มีการเรียนการสอน (แบบยุโรป) ถ้าจะลองดูจากหลักสูตรปริญญาเอก จะมีดังนี้
ให้ทำการค้นคว้าจากภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส ค้นคว้าจนเป็นที่น่าพอใจ
ให้แต่งตำราเป็นภาษาไทย ถ้าจะแปลความในสมัยปัจจุบันก็คือเขียนวิทยานิพนธ์ แล้วก็สอบปากเปล่า เมื่อกรรมการพอใจ ก็ได้รับปริญญาเอกไป
อันนี้เป็นสิ่งที่คิดว่ามหัศจรรย์มาก ธรรมศาสตร์เกิดขึ้นมา พ.ศ. 2477 มีถึงปริญญาเอกทันที น่าเสียดายที่ต่อมาปริญญาเอกหายไป ได้สัมภาษณ์บุคคลบางคนที่ได้ปริญญาเอก เช่น ดร. บรรจบ อิศดุลย์ ซึ่งเคยสอนอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ ถามท่านว่ามันหายไปไหน ท่านก็บอกไม่ทราบเหมือนกันอยู่ดี ๆ มันก็หายไปดื้อ ๆ เหลือแต่ปริญญาโท ถ้าจะมีปริญญาเอกคงต้องมาตั้งต้นกันใหม่ (ดังที่กำลังดำเนินการกันอยู่ในขณะนี้)
ทีนี้ กลับไปในเรื่องที่เกี่ยวกับการที่ธรรมศาสตร์เน้นเรื่องกฎหมาย ทำไมธรรมศาสตร์เน้นเรื่องกฎหมาย เข้าใจว่าท่านผู้ประศาสน์การคงมีปรัชญาในการก่อตั้ง เพื่อที่จะวางรากฐานลัทธิรัฐธรรมนูญ แปลความว่าเพื่อขจัดสิ่งที่เราเรียกว่าเป็นอัตตาธิปไตยหรือคณาธิปไตย โดยให้มีกฎเกณฑ์เป็นหลัก หรือจะใช้คำเก่า จะใช้คำอะไร คงบอกว่าให้มี “ธรรมะ” ที่เป็นกฎเกณฑ์ในการปกครองสังคม ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ดังนั้นจุดเริ่มต้นของธรรมศาสตร์จึงมาจากเรื่องกฎหมาย ลองสังเกตดูและเห็นว่า คำว่า “ธรรมะ” นอกจากเป็นส่วนหนึ่งของชื่อมหาวิทยาลัยแล้ว ยังจะมีควบคู่ไปกับธรรมศาสตร์อยู่ตลอดเวลา ทั้งในเรื่องปรัชญาพื้นฐานและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ในเรื่องของเพลงมหาวิทยาลัย และอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับธรรมศาสตร์ ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้จะค่อนข้างเป็นนามธรรมที่จะสร้างกฎเกณฑ์ให้แก่สังคมไทยสมัยใหม่
ในหัวข้อของปรัชญานี้ เมื่อดูจากการเลือกใช้ชื่อ ธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นชื่อมหาวิทยาลัย เข้าใจว่านี่เป็นสิ่งหนึ่งที่จะบอกถึงปรัชญาของการก่อตั้ง ดังที่กล่าวแล้วแต่ตอนต้น ผมพยายามที่จะไปสัมภาษณ์ท่านผู้ประศาสน์การ ทำไมท่านให้ชื่อมหาวิทยาลัยอย่างนี้ ทำไมเลือกสีเหลืองและแดง ฯลฯ แต่ผมก็บุญน้อยมิได้สัมภาษณ์อย่างที่กล่าวแล้ว ดังนั้นผมจึงต้องลองดูจากเอกสารรอบตัว ในแง่นี้ ความคิดการก่อตั้ง การใช้ชื่อนี้มีภูมิหลังอย่างไร คำว่า ธรรมศาสตร์ หมายถึง กฎหมายที่เป็นแม่บทวางระเบียบสังคมสมัยเก่า ท่านปรีดีคงดึงเอามาใช้ในสมัยใหม่ เราเห็นได้ชัดเลย มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองเป็นสถาบันแรกที่นำกฎหมายตราสาม-ดวงที่รวบรวมขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 นำมารวมพิมพ์เป็นเล่มอย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรก พร้อมทั้งมีคำนำในการจัดพิมพ์ครั้งนั้นโดยท่านผู้ประศาสน์การ กฎหมายตราสามดวงนี้เราก็ทราบดีว่ามีพระธรรมศาสตร์เป็นหัวใจของกระบวนกฎหมายทั้งหมด นี่เป็นการดึงเอาสัญลักษณ์ของกฎเกณฑ์ของสังคมเก่ามาใช้ (คำว่าธรรมศาสตร์นี้ในสมัยใหม่เริ่มเปลี่ยนความหมายไปบ้าง กลายเป็นแปลว่า กฎหมายทั่ว ๆ ไปก็ได้)