2.4  เมืองพัทยา  ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา  พ.ศ.  2521  เมืองพัทยาจัดองค์การแบบผู้จัดการนคร  สภาเมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิกสภาเมืองพัทยา  2  ประเภท  รวม  17  คน  ดังนี้
          (1)  สมาชิกโดยการเลือกตั้งของราษฎรในเขตเมืองพัทยา  จำนวน  9  คน
          (2)  สมาชิกโดยการแต่งตั้ง  จำนวน  8  คน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้แต่งตั้งจาก
                   -  สาขาอาชีพต่างๆ  จำนวน  4  คน
                   -  ตัวแทนหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง  จำนวน  4  คน
โครงสร้างเมืองพัทยา  ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา  พ.ศ.  2542  ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก  ทั้งนี้ได้ยกเลิกการจัดโครงสร้างแบบผู้จัดการนคร  และใช้โครงสร้างแบบสภา – นายกเทศมนตรี  ประกอบด้วย  ฝ่ายนิติบัญญัติ  คือ  สภาเมืองพัทยา  ซึ่งมีสมาชิก  24  คน  มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน  และฝ่ายบริหาร  คือ  นายกเมืองพัทยา  มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเช่นเดียวกัน 
การปฏิรูปด้านอำนาจท้องถิ่น
          องค์ประกอบที่สำคัญของการบริหารท้องถิ่นตามระบอบประชาธิปไตย  คือ  อำนาจอิสระในการปกครองตนเองของท้องถิ่น
          1.  อำนาจท้องถิ่นกับอำนาจรัฐบาล
          การทำให้ท้องถิ่นมีอำนาจอิสระในการปกครองตนเองของท้องถิ่นของตนเองเพิ่มขึ้นนั้น  จะต้องดำเนินการปรับปรุงด้านอำนาจ  2  ประการ  ดังนี้
          (1)  การลดอำนาจส่วนกลาง  การลดอำนาจส่วนกลางกระทำได้  2  ลักษณะ  คือ
                   -  จำกัดอำนาจของส่วนกลางไม่ให้เข้าไปควบคุม  ก้าวก่าย  หรือแทรกแซงการบริหารงานของท้องถิ่นมากจนเกินไปจนทำให้ท้องถิ่นขาดอิสระ
                   -  ลดอำนาจหน้าที่ของส่วนกลาง  ให้มีอำนาจหน้าที่เฉพาะในกิจการที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการโดยองค์กรของรัฐในส่วนกลาง  กิจการใดที่สมควรให้ท้องถิ่นดำเนินการ  ก็กระจายอำนาจและหน้าที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการบนพื้นฐานเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นนั้น
          (2)  การเพิ่มอำนาจท้องถิ่น  การเพิ่มอำนาจของท้องถิ่นให้มากขึ้นกระทำได้ใน  2  ลักษณะ  คือ
                   -  เพิ่มอำนาจอิสระของท้องถิ่น  ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถบริหารและดำเนินกิจการชองท้องถิ่นได้อย่างเป็นอิสระตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด  คือการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารงานบุคคลของท้องถิ่น  ซึ่งทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคลของตนเองมากขึ้น
                   -  เพิ่มอำนาจหน้าที่ท้องถิ่น  ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบกิจการที่ควรอยู่ในอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่น  ทำให้การดำเนินกิจการสาธารณะในท้องถิ่นเป็นไปตามความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
          2.  การปรับปรุงอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น  พ.ศ.  2542
อำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
อำนาจฯ ของเทศบาล  เมืองพัทยา  องค์การบริหารส่วนตำบล         อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
1.  การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
2.  การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก  ทางน้ำ  และทางระบายน้ำ
3.  การจัดให้มีและควบคุมตลาด  ท่าเทียบเรือ  ท่าข้าม  และที่จอดรถ
4.  การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
5.  การสาธารณูปการ
6.  การส่งเสริมการฝึก  และการประกอบอาชีพ
7.  กA4วบคุมการเลี้ยงสัตว์
22.  การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
23.  การรักษาความปลอดภัย  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  และการอนามัย  โรงมหรสพ  และสาธารณสถานอื่นๆ
24.  การจัดการ  การบำรุงรักษา  และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้  ที่ดิน  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
25.  การผังเมือง
26.  การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
27.  การดูแลรักษาที่สาธารณะ
28.  การควบคุมอาคาร
29.  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
30.  การรักษาความสงบเรียบร้อย  การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
31.  กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
          13.  การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทางบกและทางน้ำ
14.  การส่งเสริมการท่องเที่ยว
15.  การพาณิชย์  การส่งเสริมการลงทุน  และการทำกิจการ  ไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ
16.  การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
17.  การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง