วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เสรีนิยมหมายถึง

เสรีนิยม (อังกฤษLiberalism) เป็นกลุ่มกว้าง ๆ ของทัศนะทางการเมืองที่จัดให้เสรีภาพและความเสมอภาคของปัจเจกบุคคลเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุด
แนวความคิดเสรีนิยมเชื่อว่า โดยพื้นฐานมนุษย์นั้นมิได้เป็นคนเลว แต่มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล ดังนั้น ความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจ การเมือง รวมถึง สันติภาพระหว่างประเทศจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ นักเสรีนิยมเชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นเป็นเรื่องการมุ่งแสวงหาการพึ่งพาระหว่างกันมากกว่าแสวงหาความมั่นคงทางอำนาจ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการสร้างสถาบันระหว่างประเทศร่วมกัน รวมถึงจารีต แนวปฏิบัติระหว่างประเทศเพื่อรักษาสันติภาพระหว่างรัฐให้คงอยู่

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การปกครองสมัยสุโขทัย

การปกครองสมัยสุโขทัย
         อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือ   สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์      อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่ง
กรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921  และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อ    กันมาอีก
 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ ในปีพ.ศ.1981
                เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนในครอบครัว (Paternalism) คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อ ข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนในครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ 
  พระเจ้าแผ่นดินสมัยสุโขทัยตอนต้น  
                 ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุนจนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูกได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้า  บ่าวกับนายไป    พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนบุตร
ลักษณะการปกครองแบ่งออก เป็น 3 ส่วน
 1.)     เมืองหลวง - สุโขทัย
 2.)     หัวเมืองชั้นใน  -   ทิศเหนือ     เมืองศรีสัชชนาลัย(สวรรคโลก)
                                    ทิศตะวันออก     เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
                                    ทิศใต้           เมืองสระหลวง (พิจิตร )
                                    ทิศตะวันตก      เมืองกำแพงเพชร 
 3.)     หัวเมืองชั้นนอก ( เมืองพระยามหานคร)   ได้แก่   เมืองหล่ม เมืองเพชรบูรณ์ เมืองศรีเทพ    เมืองแพรก(สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณบุรี(อู่ทอง) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบูรณ์ เมืองตะนาวศรี
                 
       นอกจากนี้  ยังมีเมืองประเทศราช  ได้แก่    
                         ทิศตะวันออก   -    เมืองน่าน เมืองเซ่า(เมืองหลวงพระบาง) เวียงจันทร์ เวียงคำ 
                         ทิศใต้             -    เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา และเมืองยะโฮร์ 
                         ทิศตะวันตก     -    เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สยามกับวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112

วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ (เหตุแห่งการจัดทำพระไตรปิฏก) 
          "วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒" เป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ในอดีตที่สร้างความเศร้าโศก เสียพระราชหฤทัยให้กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ไม่เป็นอันเสวยหรือบรรทมจนประชวรหนัก เพราะเหตุทรงเจ็บช้ำพระราชหฤทัย ขมขื่นและระทมทุกข์ จากชาิติฝรั่งเศสที่เข้ามารุกรานแผ่นดินสยาม จนท้อพระทัยว่า พระนามของพระองค์จะถูกลูกหลานในอนาคตติฉินนินทาไม่รู้จบสิ้น เปรียบเสมือนสองกษัตริย์ "ทวิราช" ที่สูญเสียเศวตฉัตรแห่งแผ่นดินกรุงศรีอยุธยาให้กับอังวะในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ และเป็นที่ทราบกันดีว่าวิฤติการณ์ ร.ศ.๑๑๒ ในครั้งนี้ ได้เป็นจุดเริ่มแห่งความเจ็บช้ำในพระทัยต่อพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์และทรงจดจำมิลืมเลือน จึงทรงสักยันต์ ตราด ร.ศ.๑๑๒ ไว้ตรงพระอุระของพระองค์ เพื่อเป็นการย้ำเตือนถึงความเจ็บช้ำที่เกิดจากเหตุการณ์ในกาลนั้น
          "วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒" เกิดขึ้นในปีมะเส็ง เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖(ร.ศ.๑๑๒) หกเดือนหลังจากพระราชพิธีโสกันต์ของพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์
         
          ได้เกิด " วิกฤติการณ์ปากน้ำ" " กรณี ร.ศ.๑๑๒" เริ่มต้นขึ้นเมื่อ จักรวรรดินิยมฝรั่งเศส ได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองอินโดจีน อันประกอบด้วย โคชิน ตังเกี๋ย อันนัม กัมพูชา และบางส่วนของลาวมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๔
          ต่อมาฝรั่งเศสก็อ้างว่าดินแดนของลาวเคยเป็นสิทธิของเวียดนาม (เจ้าอนุวงศ์เคยทำสัญญายกเมืองลาวให้เวียดนามเพื่อขอลี้ภัยการเมือง ในคราวที่เจ้าอนุวงศ์ก่อกบฏในสมัยรัชกาลที่ ๓) และในเมื่อเวียดนามเป็นดินแดนในคุ้มครองของฝรั่งเศสแล้ว จึงสมควรที่แผ่นดินลาวต้องเข้ามาอยู่ในการดูแลของฝรั่งเศสด้วย
          รัฐบาลสยามจึงได้ส่ง พลตรีพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าน้องยาเธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (พระองค์เจ้าชายทองก้อนทองใหญ่) ให้ขึ้นไปตั้งกองบัญชาการลาวพวน อยู่ที่เมืองหนองคาย เพื่อป้องกันการรุกรานของฝรั่งเศส
          ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ร.ศ.๑๑๒ มองซิเอร์ลุซ ชาวฝรั่งเศส คุมทหารญวนในสังกัดฝรั่งเศสเข้าปล้นค่ายยึดเมืองคำมวน เมืองหน้าด่าน ราชอาณาเขตสยาม โดยมี พระยอดเมืองขวาง เป็นข้าหลวงรักษาเมือง ฝรั่งเศสเข้ายึดเมืองคำมวน และจับ พระยอดเมืองขวาง และพวกเอาไว้ แต่มีทหารเข้ามาช่วย พระยอดเมืองขวางและพวกเอาไว้ และได้ฆ่าทหารฝรั่งเศส เหลือรอดกลับไปเพียง ๓ คน (บางแหล่งระบุว่า มิไ้ด้ต่อสู้ขัดขวาง เพราะเกรงกระทบไมตรีระหว่าง สยามกับฝรั่งเศส)
          รัฐบาลสยามได้พยายามประท้วงไปทางฝรั่งเศส แต่ก็ไม่เป็นผล ฝรั่งเศสยืนกรานว่าเมืองคำมวนเป็นของฝรั่งเศส และพระยอดเมืองขวาง คือผู้บุกรุก โดยพระยอดเมืองขวาง พร้อมทหารและอาวุธครบมือ บุกเข้าไปในเขตยึดครองของฝรั่งเศส การที่จับพระยอดเมืองขวาง นั้นชอบแล้ว มองซิเออร์ ออกุสต์ ปาวี ยื่นประท้วงโดย "ให้ลงโทษพระยอดเมืองขวางสถานหนักและให้สยามประเทศจ่ายค่าทำขวัญให้แก่ครอบครัวทหารฝรั่งเศส ญวนและเขมรที่ถูกฆ่าตาย" เหตุการณ์ครั้งนี้ได้นำไปสู่คดีประวัติศาสตร์ "คดีพระยอดเมืองขวาง" และ "วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒" ในเวลาต่อมา
          เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๖ ทหารญวน เขมรในสังกัดของฝรั่งเศส ก็ได้ยกเข้ามาประชิดฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และส่งเรือปืนลูแตงล่องปากเจ้าพระยาเข้ามายังพระนคร โดยอ้างว่า เป็นการคุ้มครองผลประโยชน์ของฝรั่งเศสที่มีอยู่ในสยาม (ตอนนั้นมีชาวฝรั่งเศสอยู่ในสยามเพียง ๓ คน และไม่มีกิจการค้าใดๆ อันเป็นผลประโยชน์ตามที่กล่าวอ้าง)

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์รัฐประหารไทย กบฏบวรเดช

พระประวัติหม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร

พระนามเดิม หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ ที่ประสูติแต่ หม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา
หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร สำเร็จการศึกษาวิชาทหารจากเยอรมนี และรับราชการทหาร ทรงเสกสมรสกับ เจ้าหญิงทิพวัน ณ เชียงใหม่ ธิดาของเจ้าเทพดำรงรักษาเขตกับเจ้าแม่พิมพา กนิษฐาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เมื่อ พ.ศ. 2445 จากนั้นทรงรับตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นเวลา 3 ปี หม่อมเจ้าบวรเดชได้รับแต่งตั้งให้เป็นอุปราชมณฑลพายัพ ที่เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2458-2462 และดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้สถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2472
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมในปลายปี พ.ศ. 2474 เนื่องจากทรงขัดแย้งกับจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ในเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพบก[2]

[แก้]คณะกู้บ้านเมือง และกบฏบวรเดช

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เกิดความแตกแยกในคณะราษฎร พระยาพหลพลพยุหเสนา ก่อรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เกิดความขัดแย้งระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับผู้นำในคณะราษฎรหลายครั้งเกี่ยวกับแนวทางการเมืองของประเทศ สาเหตุสำคัญมีอาทิการกำหนดสถานภาพของพระมหากษัตริย์ในระบอบการปกครองใหม่ จนถึงข้อเสนอของนายปรีดี พนมยงค์ที่เรียกว่า "เค้าโครงเศรษฐกิจ" ซึ่งนำเสนอรัฐสภาและทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัย ซึ่งทรงวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอดังกล่าวอย่างรุนแรง โดยทรงเห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อพื้นฐานทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความวุ่นวายได้ ขณะที่ฝ่ายคณะราษฎรถือว่าปฏิกิริยาดังกล่าวเป็นการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและเป็นความต้องการรักษาอำนาจของ "ฝ่ายศักดินา" หรือ "ระบอบเก่า" ความขัดแย้งดังกล่าวขยายตัวชัดเจนมากขึ้นจนมีการอภิปรายในรัฐสภาคัดค้านเค้าโครงเศรษฐกิจดังกล่าว กดดันให้นายปรีดี พนมยงค์ ต้องเดินทางไปพำนักในฝรั่งเศส ก่อนที่ผู้นำฝ่ายทหารของคณะราษฎรคือ พระพหลพลพยุหเสนา ต้องก่อรัฐประหารเพื่อรักษาอำนาจของคณะราษฎรไว้ ทำให้ความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายรุนแรงมากขึ้น[3]
ในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ทรงส่งกำลังทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางนครราชสีมา อุบลราชธานี สระบุรีพระนครศรีอยุธยา และเพชรบุรี เคลื่อนกำลังทางรถไฟเข้ายึดกองทัพอากาศดอนเมืองได้เมื่อวันที่ 12 และเคลื่อนกำลังทหารเข้ายึดพื้นที่ไปตามแนวคลองบางเขนจนถึงสถานีรถไฟบางเขน เพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา กระทำตามเงื่อนไข 6 ข้อ ใจความโดยย่อคือ ให้รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้อำนาจรัฐสภามากขึ้นและจำกัดอำนาจของรัฐบาลมิให้กลายเป็นคณะเผด็จการ อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของพระองค์เจ้าบวรเดชในครั้งนั้นถูกมองจากฝ่ายนิยมคณะราษฎรว่าเป็นความพยายามในการฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และต่อต้านระบอบประชาธิปไตย
ในเวลาเดียวกัน ฝ่ายรัฐบาลได้มอบหมายให้ พันโทหลวงพิบูลสงคราม รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้บังคับกองผสมทำการรุกตอบโต้ จนทหารบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก จนถึงวันที่ 15 กำลังทหารหัวเมืองได้ถอนกำลังออกจากดอนเมือง เคลื่อนที่ไปยังปากช่องอันเป็นที่มั่นด่านสุดท้าย ขณะที่กองหน้าของกองบังคับการผสมได้ติดตามไปจนถึงสถานีปากช่อง และ พันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม(ดิ่น ท่าราบ) แม่ทัพซึ่งรับหน้าที่เป็นกองระวังหลัง ถูกยิงเสียชีวิตบนทางรถไฟใกล้สถานีหินลับ อำเภอปากช่อง
เมื่อที่มั่นแห่งสุดท้ายคือสถานีปากช่องถูกยึด และแม่ทัพเสียชีวิต พระองค์เจ้าบวรเดชและพระชายาจึงเสด็จหนีโดยทางเครื่องบินจากฐานบินโคราช มีหลวงเวหนเหิรเป็นนักบิน ไปขอลี้ภัยทางการเมืองที่เมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียตนาม จนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงย้ายไปประทับที่ประเทศกัมพูชา และเสด็จกลับประเทศไทยพร้อม หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ กฤดากร พระชายา เมื่อ พ.ศ. 2491

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา

การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา

       
 
            กรุงศรีอยุธยาปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธฺราชย์ พระมหากษัตริย์ทรง เป็นพระประมุข ที่มีอำนาจสูงสุดใน การปกครอง แผ่นดิน ทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม พระองค์ทรง มอบหมายให้พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางปกครอง ดูแลเมือง ลูกหลวง หลานหลวง ต่างพระ เนตรพระกรรณ ส่วนเมืองประเทศราชอมีเจ้านายใน ราชวงศ์เก่าปกครอง ขึ้นตรงต่อเมืองราชธานี ศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ(พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑) ทรงปฎิรูปการปกครอง ลดทอน อำนาจหัวเมือง ทรงแยกการบริหาร ราชการแผ่นดิน ออกเป็น ๒ ฝ่าย คือฝ่ายทหาร มีสมุหพระกลาโหม เป็นผู้รับผิดชอบ ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ในฝ่ายพลเรือน นั้นยัง แบ่งออกเป็น ๔ กรมหรือ จตุสดมภ์ คือ สี่เสาหลัก ได้แก่ กรมเวียงหรือนครบาลทำหน้าที่ปกครองดูแลบ้านเมือง กรมวังหรือธรรมมาธิกรณ์ ทำหน้าที่ดูแล กิจการพระราชวัง กรมคลังหรือโกษาธิบดีทำหน้าที่ดูแลด้านการค้าและการต่างประเทศ กรมนา หรือเกษตราธิการทำหน้าที่ดูแลเรื่องเกษตรกรรม ซึ่งรูปแบบการปกครองนี้ ใช้สืบต่อมา ตลอด สมัยอยุธยา
ระเบียบการปกครองสมัยอยุธยา
การจัดระเบียบการปกครองแบ่งออกเป็น ๓สมัย
๑. สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๙๑)
๒. สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.๑๙๙๑-๒๒๓๑)
๓. สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๓๑๐)

++สมัยอยุธยาตอนต้นหรือสมัยการวางรากฐานการปกครอง แบ่งการปกครองออกเป็น ๒ ส่วน
๑.การปกครองแบบจตุสดมภ์
ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ปรับปรุงระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่เป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบอย่างของขอม โดยมีกษัตริย์เป็นผู้อำนวยการปกครอง การปกครองประกอบด้วยเสนาบดี ๔ คนคือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา พร้อมทั้งได้ตรากฎหมายลักษณะอาญาหลวงและ กฏหมายลักษณะอาญาราษฎร เพื่อเป็นบรรทัดฐานในด้านยุติธรรม การบังคับบัญชา ในส่วนกลางแบ่งออกเป็น

-ขุนเวียง ทำหน้าที่บังคับกองตระเวนซ้าย ขวา และขุนแขวง อำเภอ กำนัน ในกรุงบังคับศาลพิจารณาความฉกรรจ์มหันตโทษ ซึ่งแบ่งเป็นแผนกว่าความนครบาล และคุมไพร่หลวงมหันตโทษ ทำหน้าที่ตะพุ่นหญ้าช้าง
-ขุนวัง ทำหน้าที่รักษาพระราชมนเฑียร และพระราชวังชั้นนอกชั้นในเป็น พนักงานจัดการพระราชพิธีทั้งปวงทั่วไป และบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายหน้า บรรดาข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในและข้าราชการฝ่ายในทั่วไป มีอำนาจที่จะตั้งศาลชำระความซึ่งเกี่ยวข้องได้ ราชการในกรมวังนี้มีความละเอียดกว่า ราชการในกรมเมืองต้องรู้วิธีปฏิบัติราชการ มีความจดจำดีมีความขยันหมั่นเพียรและ ต้องใช้ความรู้ความสามารถ
-ขุนคลัง ทำหน้าที่ในการบังคับบัญชาในเรื่องเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งจะเข้าใน พระคลังและที่จะจ่ายราชการบังคับจัดการภาษีอากรขนอนตลาดทั้งปวงและบังคับศาล ซึ่งชำระความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์ของหลวงทั้งปวง
-ขุนนา มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงเก็บค่าเช่าจากราษฎร เป็นพนักงานจัดซื้อข้าว ขึ้นฉางหลวง เป็นพนักงานทำนาตัวอย่าง ชักจูงราษฎรให้ลงมือทำนาด้วยตนเองเป็น ผู้ทำนุบำรุงชาวนาทั้งปวงไม่ให้เสียเวลาทำนา นอกจากนั้นยังมีอำนาจที่จะตั้งศาลพิพากษา ความที่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องนาและโคกระบือ
๒.การปกครองส่วนภูมิภาคหรือส่วนหัวเมือง
-เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านอยู่รอบราชธานี ๔ ทิศ ห่างจากราชธานีใช้เวลาเดินทาง ๒ วัน พระมหากษัตริย์แต่งตั้งพระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครอง
-หัวเมืองชั้นใน คือเมืองที่อยู่รายรอบพระนคร ได้แก่ ปราจีนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ฯลฯ มีขุนนางจากเมืองหลวงไปปกครอง
-หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร เมืองขนาดใหญ่อยู่ห่างไกลจากราชธานี
-เมืองประเทศราช ให้เจ้าต่างชาติต่างภาษาปกครองกันเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด ๓ ปีต่อครั้ง
++สมัยอยุธยาตอนกลาง หรือสมัยการปรับปรุงการปกครอง เริ่มในสมัยพระบรมโตรโลกนาถ การปรับปรุงการปกครอง ยึดหลักการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง แบ่งส่วนราชการออกเป็น
๑. การปกครองในส่วนกลางหรือส่วนราชธานี แบ่งการปกครองออกเป็น ๒ ฝ่าย
๑.๑ ฝ่ายทหาร มีสมุหกลาโหมเป็นหัวหน้า ดูแลทหารทั่วราชอาณาจักร
๑.๒ ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้า และรับผิดชอบจตุสดมภ์ ๔ และเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ คือ เวียง เป็น นครบาล วัง เป็น ธรรมาธิกรณ์ นา เป็น เกษตราธิราช คลัง เป็น โกษาธิบดี
๒. การปกครองส่วนภูมิภาค โปรดให้ยกเลิกเมืองลูกหลวง จัดการปกครองออกเป็น
๒.๑ หัวเมืองชั้นใน เปลี่ยนเป็นหัวเมืองจัตวา มีผู้ปกครองคือผู้รั้ง
๒.๒ หัวเมืองชั้นนอก เปลี่ยนหัวเมืองชั้น เอก โท ตรี ตามลำดับความสำคัญ และขนาดของ เมือง
๒.๓เมืองประเทศราช ให้เจ้าต่างชาติต่างภาษาปกครองกันเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาตามกำหนด
++สมัยอยุธยาตอนปลาย หรือสมัยถ่วงดุลอำนาจ เริ่มในสมัยพระเพทราชา สมัยนี้ยึดแบบอย่างการปกครองแบบที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปรับปรุง แต่ได้แบ่งแยกอำนาจสมุหกลาโหมและสมุหนายกเสียใหม่ คือ
สมุหกลาโหม - ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมดทั้งที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน

สมุหนายก - ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน
รูปแบบการปกครองของอยุธยา ใช้เรื่องมาจนถึงรัชกาลที่ ๕ จึงได้มีการปฏิรูปการปกครองเสียใหม่

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

การเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
การดำเนินการด้านการปกครอง       ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงใช้ในการปกครองประเทศนั้น ทรงเอาแบบอย่างซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาดในการปกครองประเทศ มีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหพระกลาโหม และ สมุหนายก ตำแหน่งสมุหนายก มีเสนาบดี 4 ตำแหน่ง ที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาโดยตรงที่แตกต่างออกไปคือ ทรงแบ่งการปกครองพระราชอาณาเขตออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การปกครองส่วนกลาง  การปกครองส่วนหัวเมือง และการปกครองเมืองประเทศราช การปกครองส่วนกลาง     สมุหพระกลาโหม มียศและพระราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ใช้ตราคชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่งมีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งด้านการทหารและพลเรือน สมุหนายก มียศและพระราชทินนามไม่ทรงกำหนดแน่นอน ที่ใช้อยู่ได้แก่ เจ้าพระยาจักรี  บดินทร์เดชานุชิต  รัตนาพิพิธ ฯลฯ  ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและอีสานทั้งด้านการทหารและพลเรือน         จตุสดมภ์ มีดังนี้ 1. กรมเวียง หรือ กรมเมือง เสนาบดี คือ เจ้าพระยายมราช มีตราพระยมทรงสิงห์เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลกิจการทั่วไปในพระนคร 2. กรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (พระโค) เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลพระราชวังและตั้งศาลชำระความ 3. กรมคลัง หรือ กรมท่า ใช้ตราบัวแก้ว เป็นตราประจำตำแหน่งมีเสนาบดีดำรงตำแหน่งตามหน้าที่รับผิดชอบคือ - ฝ่ายการเงิน ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาราชภักดี - ฝ่ายการต่างประเทศ ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาศรีพิพัฒน์ - ฝ่ายตรวจบัญชีและดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ตำแหน่งเสนาบดีคือ พระยาพระคลัง 4. กรมนา เสนาบดีมีตำแหน่ง พระยาพลเทพ ใช้ตราพระพิรุณทรงนาค เป็นตราประจำตำแหน่ง มีหน้าที่ดูแลนาหลวง เก็บภาษีข้าว และพิจารณาคดีความเกี่ยวกับที่นา การปกครองหัวเมือง คือ การบริหารราชการแผ่นดินในหัวเมืองต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นนอก      หัวเมืองชั้นใน  (เดิมเรียกว่า เมืองลูกหลวง หรือ เมืองหน้าด่าน) ได้แก่ หัวเมืองที่กระจายอยู่รายล้อมเมืองหลวง ถือเป็นเมืองบริวารของเมืองหลวง ไม่มีศักดิ์เป็นเมืองอย่างแท้จริง เพราะไม่มี เจ้าเมือง มีเพียง ผู้รั้ง (ซึ่งไม่มีอำนาจอย่างเจ้าเมือง จะต้องฟังคำสั่งจากเมืองหลวง)      หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่ เมืองทั้งปวง(นอกจากเมืองหลวง เมืองชั้นใน และเมืองประเทศราช) เมืองเหล่านี้จัดแบ่งระดับเป็นเมืองชั้น เอก โท ตรี ตามขนาด จำนวนพลเมืองและความสำคัญ แต่ละเมืองยังอาจมีเมืองเล็กๆ(เมืองจัตวา) อยู่ใต้สังกัดได้อีกด้วย เจ้าเมืองของเมืองเหล่านี้ มีอำนาจสิทธิ์ขาดในเมืองของตน แต่ต้องปฏิบัติตามพระบรมราชโองการและนโยบายของ รัฐบาลที่เมืองหลวง ตามเขตการรับผิดชอบคือ      หัวเมืองเหนือและอีสาน อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก      หัวเมืองใต้ (ตั้งแต่เมืองเพชรบุรีลงไป) อยู่ในความรับผิดชอบของ สมุหพระกลาโหม      หัวเมืองชายทะเลตะวันออก (นนทบุรี  สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สาครบุรี ชลบุรี       บางละมุง  ระยอง  จันทบุรี  และตราด) อยู่ในความรับผิดชอบของ เสนาบดีกรมพระคลัง      คือ พระยาพระคลัง
การแต่งตั้งเจ้าเมือง                   เมืองเอก ได้แก่ เมืองพิษณุโลก  นครราชสีมา  นครศรีธรรมราช  ถลาง และสงขลา  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเอง      เมืองโท  ตรี และจัตวา  เสนาบดีผู้รับผิดชอบเป็นผู้แต่งตั้ง การปกครองเมืองประเทศราช  เมืองประเทศราชของไทยได้แก่ 1. ล้านนาไทย (เชียงใหม่  ลำพูน  ลำปาง  เชียงแสน) 2. ลาว (หลวงพระบาง  เวียงจันทน์  จำปาศักดิ์) 3. เขมร 4. หัวเมืองมลายู (ปัตตานี  ไทรบุรี  กลันตัน  ตรังกานู) เมืองประเทศเหล่านี้มีเจ้าเมืองเดิมเป็นผู้ปกครอง  แต่มีความผูกพันต่อราชธานี คือ การส่งเครื่องราชบรรณาการ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ตามกำหนดเวลา และช่วยราชการทหารตามแต่กรุงเทพฯ หรือ ราชธานี จะมีใบบอกแจ้งไป ภารกิจของราชธานี (กรุงเทพฯ) คือ ปกป้องดูแลมิให้ข้าศึกศัตรูโจมตีเมืองประเทศราช การชำระแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวกับการปกครองที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดให้ดำเนินการนอกเหนือไปจากการปรับปรุงแก้ไขระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่ การรวบรวมและชำระกฎหมายเก่า ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เมื่อได้ชำระเรียบร้อยแล้วโปรดเหล้าฯให้อาลักษณ์คัดลอกไว้เป็น 3 ฉบับ ทุกฉบับประทับ ตราคชสีห์  ตราราชสีห์ และตราบัวแก้ว  ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งสมุหพระกลาโหม  สมุหนายกและพระยาพระคลัง ตามลำดับ เสนาบดีทั้งสามเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการปกครอง ดูแลหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร กฎหมายฉบับนี้จึงมีชื่อเรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1  ได้ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศมาจนถึงรัชกาลที่ 5 ก่อนที่จะมีการปฏิรูปกฎหมายและการศาลตามแบบสากล